Welcome to my blog!

Hi Everyone! Enjoy!

Monday, October 22, 2007

2007 Thailand Computer Crime Report

2007 Thailand Computer Crime Report

For the 27th ASEANPOL Conference


Current Situation

Computer crime situation in Thailand compared with the past year has shown an increase in terms of number of cases. New methods of offense which did not happen in the previous years were found. Some of these examples are
­ SIM card fraud – hacking into the cellphone operator’s computer and modifying top-up credits.
­ Cyber-extortion – hacking into and erasing the web hosting provider’s data then extorting money for returning of copy of original data.
­ Making Fraud to online web service through vulnerabilities
­ Credit card identity theft
­ Phishing – some Thai e-banking customers were victimized

Also there has been a steady rise in computer-related crime such as online sale of pornography, online fraud, illegal gambling, defamation and harassment.

There is a growing tendency for both computer and computer-related crime to be more serious and widespread. The computer crime law is being in the Parliamentary process of getting final approval for enactment. Still prosecution of many computer crime cases are complicated particularly those cases where the Royal Thai Police being requested by international cooperation. Because certain offenses in other countries are not crime in Thailand.

It is found that more intrusions originated from foreign countries into Thailand-based computers. Besides, many cheating websites in foreign countries which lure tourists to make online fake reservations for hotels in Thailand. This hotel reservation fraud has damaged to our country’s tourism business and reputation. Both the perpetrators and victims of these offenses live abroad thereby causing troublesome international cooperation.


Our Measures against those problems

Domestic Approach
­ To encourage the public to report illegal websites
­ To cooperate among law enforcement units
­ To promote public awareness and distributing of filter software to control children access to the internet by the Ministry of Culture
­ Blocking of illegal website by the Ministry of ICT
­ To prosecute illegal websites by the Royal Thai Police
­ To train the police on electronic evidence collection and investigation techniques

International Approach
­ To cooperate with G8 , Interpol, CTINS and establish 24/7 point of contact
­ To participate in Aseanapol activities, meeting, training, etc.
­ To assist in solving computer crime cases upon the foreign law enforcement request (both official and nonofficial) as possible
­ Sharing of knowledge and experience with other countries

Statistics of Computer Crime and International Request

At present the Royal Thai Police has no official computer crime information. Information gathering system and criminal data classification are now under planning.

The number of cooperation requests from Asean member countries in 2006 : 1 (from Hong Kong).

There has been many international cooperation requests mostly from U.S. and E.U. countries where web hosting service are available.

Regarding Asean countries cooperation, the Royal Thai Police has assisted a computer crime case from HK. In this case, High-Tech Crime Center (HTCC) - the Royal Thai Police helped investigate the electronic money transfer from the victim’s account in HK to Thailand. With the IP address and bank account number received, we found that it was from the internet café in Bangkok and the owner’s bank account was Indian national. The fraudster was identified thereafter but had been left from Thailand several months earlier. We send those details to HK and not very long after were informed that the criminal was arrested upon his return to HK.

Our vision to cope with those problems

Domestic Approach
­ Regulating all electronic transactions to be traceable or identifiable of its source and destination e.g. prepaid SIM card registration, parcel post sender ID plus CCTV recording , CDROM identity data collecting from duplicator, etc.
­ In order to help law enforcement in investigation, the service providers are forced to have 3 month non-content data retention
­ Making laws to assist law enforcement in fighting against electronic crime
­ Training of police to achieve world class capability in electronic crime investigation techniques
­ Developing a knowledge-base case management

International Approach
­ Making an issue to be solved together among various countries
­ Research of difference in computer crime law of member countries especially those cases where they are illegal in some countries but not illegal in another and setting up the proper cooperation procedures for them. For example, the defamation of Thai dignitaries in the US website is not criminal offense. The applicable law used to remove that content from it had to be copyright law. But there is another US law – title 18 USC section 2703( c ) that makes cooperation possible
­ Developing cooperation framework to be more efficient
­ Requesting technical training from technologically advanced countries

24/7 point of contact

5.1 Pol.Col. Suchart KANGWARNJIT
Deputy Commander, High-Tech Crime Center
Telephone: (662)205-2688 Facsimile: (662) 205-1285
Email: suchart_k@police.go.th
5.2 Pol.Lt.Col. Niwate ARPAWASIN
Deputy Superintendent, High-Tech Crime Center
Telephone: (662)205-1981-2 Facsimile: (662) 251-5417
Email: niwate@police.go.th

Conclusion

To cope with computer crime, international cooperation is highly essential. The framework and guidelines of cooperation shall be developed in order to make quick and efficient procedure.




@@@@@@@@@@@@@@

2005 Computer Crime Report

2005 Computer Crime Report
For the 26th ASEANPOL Conference


Current Situation

Computer crime situation in Thailand compared with the past year has shown an increase in terms of number of cases. New methods of offense which did not happen in the previous years were found. Some of these examples are
­ SIM card fraud – hacking into the cellphone operator’s computer and modifying top-up credits.
­ Cyber-extortion – hacking into and erasing the web hosting provider’s data then extorting money for returning of copy of original data.
­ Making Fraud to online web service through vulnerabilities
­ Credit card identity theft

Also there has been a steady rise in computer-related crime such as online sale of pornography, online fraud, illegal gambling, defamation and harassment.

There is a growing tendency for both computer and computer-related crime to be more serious and widespread. Still the computer crime law is being in the process of getting approval for enactment and seemingly perhaps delayed by political conflict crisis. This makes prosecution of many computer crime cases more complicated. Particularly, those cases that the Royal Thai Police was requested by international cooperation. Because certain offenses in other countries are not crime in Thailand.

It is found that more intrusions originated from foreign countries into Thailand-based computers. Besides, many cheating websites in foreign countries which lure tourists to make online fake reservations for hotels in Thailand. This hotel reservation fraud has damaged to our country’s tourism business and reputation. Both the perpetrators and victims of these offenses live abroad thereby causing troublesome international cooperation.


Our Measures against those problems

Domestic Approach
­ To encourage the public to report illegal websites
­ To cooperate among law enforcement units
­ To promote public awareness and distributing of filter software to control children access to the internet by the Ministry of Culture
­ Blocking of illegal website by the Ministry of ICT
­ To prosecute illegal websites by the Royal Thai Police
­ To train the police on electronic evidence collection and investigation techniques

International Approach
­ To cooperate with G8 , Interpol, CTINS and establish 24/7 point of contact
­ To participate in Aseanapol activities, meeting, training, etc.
­ To assist in solving computer crime cases upon the foreign law enforcement request (both official and nonofficial) as possible
­ Sharing of knowledge and experience with other countries

Statistics of Computer Crime and International Request

At present the Royal Thai Police has no official computer crime information. Information gathering system and criminal data classification are now under planning.

There has been many international cooperation requests mostly from U.S. and E.U. countries where web hosting service are available. Regarding Asean countries cooperation, the Royal Thai Police has assisted a computer crime case from Singapore. In this case, High-Tech Crime Center (HTCC) - the Royal Thai Police helped investigate the email threatening the political leader. Working together with Singapore officials, HTCC team could locate the email origin and thereafter the electronic evidence was collected at an internet café in Bangkok. Finally the criminal was arrested on the next day.

Our vision to cope with those problems

Domestic Approach
­ Regulating all electronic transactions to be traceable or identifiable its source and destination e.g. SIM card registration, topping-up credits by phone, parcel post sender ID plus CCTV recording , CDROM identity data collecting from duplicator?, etc.
­ Making laws to assist law enforcement in fighting against electronic crime
­ Training of police to achieve world class capability in electronic crime investigation techniques
­ Developing a knowledge-base case management

International Approach
­ Making an issue to be solved together among various countries
­ Research of difference in computer crime law of each country
­ Developing cooperation framework to be more efficient
­ Requesting technical training from technologically advanced countries

24/7 point of contact

5.1 Pol.Col. Suchart KANGWARNJIT
Deputy Commander, High-Tech Crime Center
Telephone: (662)205-2688 Facsimile: (662) 205-1285
Email: suchart_k@police.go.th
5.2 Pol.Lt.Col. Niwate ARPAWASIN
Deputy Superintendent, High-Tech Crime Center
Telephone: (662)205-1981-2 Facsimile: (662) 251-5417
Email: niwate@police.go.th

Conclusion

To cope with computer crime, international cooperation is highly essential. The framework and guidelines of cooperation shall be developed in order to make quick and efficient procedure.




@@@@@@@@@@@@@@

Country Report 2006

Country Report 2006


1. Thailand against Cybercrime

1.1 Introduction
Though cybercrime is rather new to Thailand, the computer crime rate keeps increasing over the last few years. The Royal Thai Police has established the High-Tech Crime Center (HTCC) to respond to the technology crime since June 30, 2005. Being a new division reporting to the office of the Information and Communications Technology (ICT), HTCC is initially assigned to technically support the local police in handling computer crime complaints and investigation and to work collectively with the Forensics division pertaining to electronic evidence examination thereby filling the technology gap within major police works. Its tasks not only include international cooperation among law enforcement agencies but also promotion of police awareness in computer crime and collaboration with local industries in Thailand. In this manner, HTCC therefore plays an important role in national technology crime prevention and information security planning.

1.2 Organization
Being a divisional level unit in the office of ICT, HTCC’s organization structure is as follows.

Office of the Information and Communications Technology (ICT):
· Criminal Records Division
· Police Information Center
· Police Communications Division
· High-Tech Crime Center

1.3 HTCC Staff
Commander 1
Deputy Commander 1
Superintendents 2
Deputy Superintendents 2
Inspectors and Subinspectors 7
Non-commissioned officers 15

1.4 Roles
· Investigation on technology crime
· Electronic evidence forensic examination
· Cooperation with international law enforcement and other local government unit
· Computer crime training to local police
· Handling public complaints and consulting on technology crime
· Research on pattern of crime committed
· Advise on planning of technology crime prevention
2. New technological methods in cybercrime investigation


2.1 As a newly established unit, rather than concentrating on a research work, HTCC has put very much emphasis on carrying out the forensic activities to reach international standard by using computer forensic software such as Encase v.5 , FIM (Field Intelligence Model) and FTK. Unfortunately because of their high price, these softwares are only available to few police units. HTCC therefore has brought other open source softwares for example Knoppix, NetCat and DD into police application especially for preview and acquiring electronic evidence.

2.2 There were many cases where HTCC was requested for technical assistance. One example is that an underground lotto gambling software diskette with password protection was sent for evidence examination. The HTCC forensic team had reverse engineered it by using disassembly and bypass the password checking which enabled printing out the hidden data for evidence examination report.

2.3 Regarding the investigation techniques, because many ISP’s in Thailand now provide the service through cache servers thereby making IP address tracing very difficult. During the recent world cup soccer, HTCC had introduced a new technique. Instead of normal IP address tracing of perpetrators from the email, the ISPs were subpoenaed to summon the cache data over which a search for URL of the football betting websites was done. After careful analysis of the frequency of those websites visit, the useful information which could lead to further investigation of many people involved in gambling both bookmakers and punters was obtained. The result of that investigation was satisfactory.

3. Training of computer crime investigation and forensics

Having been short of technical personnel. HTCC has to focus mainly on training of its own personnels and those who work together with them. Nationwide police training will be conducted starting the coming years. Within this year alone, HTCC personnels have participated in training of the following course.
· Encase intermediate course 5 days 8 persons
· Basic computer forensics (ILEA) 2 weeks 2 persons
· Joint Thai-Malaysia commercial crime 2 weeks 3 persons
· Pacific training initiative (FBI) 2 weeks 1 person
· Computer forensics (JICA) 1 month 1 person
· Traditional investigative technique 3 months 1 person


4. Cybercrime situation and countermeasures
The cybercrime crime situation in Thailand tends to increase. There is a growing tendency that more young people becoming victimized and juvenile offenders in computer crime.

Libel, fraud and dissemination of pornography over the internet are the top three on the crime complaints list. This year Thailand may see the beginning of credit card fraud through wiretapping which was brought in from neighbouring country and infringement of intellectual property right of music by sharing of large files in a certain website.

There was an ISP who did not cooperate with the police in IP address tracing by claiming that disclosing it might invade its customer’s privacy right. HTCC had to file a consultation to the office of Council of State pertaining to the police authority to summon for evidence from ISPs. The Council of State ruled that the police investigator is authorized to summon for evidence in accordance with the criminal procedural law.

Promotion public awareness on internet safety has to focus also to the parents as a target group because most of them still lack computer and internet knowledge. Production of a media like short spot video showing several stories of real life situation in a family with guidelines shall be made available and televised during the prime time over the public service media channel.

Now there are many new IT businesses offering new services that need regulation to control their operation. For instance internet café, online game, prepaid card for mobile phones, international calling, wireline internet, wi-fi internet, etc. It is essential to put preventive measures into effect against access to these services by means of identity verification.



******************

การบริหารงานตำรวจยุคใหม่

การบริหารงานตำรวจยุคใหม่


กรกฎาคม 2547


1. คลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมา จากสังคมเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรม และเข้าสู่เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูลในปัจจุบัน
1. ยุคเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นสังคมแบบดั้งเดิม การผลิตด้าน การเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พึ่งพาธรรมชาติ สังคมเรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นยุคอดีตจนก่อนการปฎิวัติอุตสาหกรรม
2. ยุคอุตสาหกรรมมีการนำเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนาไปสุ่เครื่องจักรกล มาใช้ เป็นพลังการผลิตแทนแรงงานคน และสัตว์ ก่อให้พลังการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) สภาพสังคมเปลี่ยนไปสู่ การตลาดและการบริโภคนิยม ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย สภาพสังคมซับซ้อน หลากกหลายมากขึ้น เป็นยุคสามทศวรรษก่อนปัจจุบัน
3. ยุคเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงระบบโทรศัพท์ โทรสารติดต่อทั่วโลก เป็นยุคโลกไร้พรมแดนการติดต่อสื่อสารรวดเร็วเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย จนคนในสังคมปรับตัวไม่ทันกกับคลื่นการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก (Future Shock) เป็นยุคศตวรรษที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน
4. ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์
- โลกไร้พรมแดน
- เศรษฐกิจเสรี
- ธุรกิจข้ามชาติ
- หมู่บ้านโลก
ปรากฎการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรจากองค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรขนาดเล็ก ลดขั้นตอนการทำงานลดเอกสารที่ใช้ ลดจำนวนบุคลากร มีการแข่งขันขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

วิวัฒนาการทางการบริหาร
การบริหารงานขององค์กรในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการปรับ เปลี่ยนหลักทฤษฎีการบริหารมาตามลำดับ ดังนี้
1. ยุคก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Adam Smith จัดแบ่งโครงสร้างหน้าที่การแบ่งงานกันทำและปรัชญา Big is Beautiful มีองค์กรและการผลิตขนาดใหญ่ ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดตลาดสินค้าและบริการ
2. ยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทฤษฎีทางการบริหารที่นำมาใช้ คือ ทฤษฎี Kai Zen Demming Philosophy QC Circle ปรัชญาทางการบริหารมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการ ตลอดจนการ ตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อนำไปสู่การแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน
3. ยุคหลังปี คศ. 1980 ทฤษฎีการบริหารงานที่นำมาใช้ คือ Total Quality Management ISO 9000 Business Process Reengineering ปรัชญาการทำงานมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์ประสิทธิภาพการทำงานทุกขั้นตอน การควบคุมคุณภาพ สินค้าและบริการตามมาตรฐานที่กำหนด การผลิตที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการรื้อปรับระบบการทำงานใหม่ของระบบธุรกิจ เอกชน

แนวคิดการรื้อปรับระบบ(Reengineering)
เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงาน ใหม่ ที่ไม่สนใจการทำงานแบบเดิมที่ผ่านมา เพื่อมุ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดผลงานเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เพื่อเพิ่ม ผลผลิตลดเวลา ลดขั้นตอน ลดเอกสาร และลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน ซึ่งระบบธุรกิจเอกชนนำมาใช้ปรับปรุงองค์กรในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมาและเริ่มต้นนำมาใช้ในระบบราชการ
ขั้นตอนการรื้อปรับระบบ
1. การคิดค้นทบทวนใหม่ (Rethink)
2. การออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ (Redesign)
3. การเสริมเทคโนโลยี (Retool)
4. การฝึกอบรมบุคลากร (Retrain)

การนำแนวคิดการรื้อปรับระบบมาใช้ในระบบราชการเพื่อมุ่งปรับเปลี่ยนทันคติผู้ปฎิบัติงานใหม่ ปรับลดขั้นตอนการ ทำงานลงเสริมการทำงานและปรับสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะดวกในการทำงานซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำงานการให้ บริการของหน่วยราชการ
ตัวอย่าง
(ก) การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร (แบบเดิม)
· การฝากถอนเงินผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน
· มีพนักงานหลายคน แบ่งหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติ ผ่านพนักงานหลายคน
· ใช้เวลานานในการฝากถอน
· ระบบการตรวจสอบด้วยเอกสาร
(ข) การให้บริการฝากถอนเงินของธนาคาร (แบบใหม่)
· การฝากถอนเงินมีขั้นตอนลดลง
· มีพนักงานคนเดียวทำหลายหน้าที่ ฝาก ถอน ตรวจสอบ อนุมัติด้วยพนักงานคนเดียวกัน ใช้เวลาลดลง
· มีการมอบอำนาจ พัฒนาบุคลากร
· มีระบบการตรวจสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ความแตกต่างระหว่างแนวคิด Reengineering กับ Automation
Reengineering เป็นการคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ทั้งระบบองค์การและนำระบบคอมพิวเตอร์มาปรับใช้กับกระบวนการทำงานใหม่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ประสิทธิภาพสูง หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ มักจะเป็นการนำแนวคิด Automation โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้กับกระบวนการ ทำงานเดิม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การทำงานรวดเร็วมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง(Management Of Change)

วิสัยทัศน์ (Vision)
การบริหารงานในอนาคตจำเป็นต้องกำหนดทิศทางขององค์กร ในอนาคต โดยพิจารณาจากสภาพที่เป็นจริง สถานการณ์ลูกค้า เพื่อมุ่งถึงเป้าหมายในอนาคต วิสัยทัศน์ ประกอบด้วย
- เป้าหมายในอนาคต
- สภาพที่เป็นจริง
- ลูกค้า ผู้รับบริการ
- สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันลูกค้าเป็นผู้กำหนดชะตากรรมขององค์การการผลิตสินค้า และบริการเปลี่ยนจากการผลิตจำนวนมาก เป็นการผลิตตามความต้องการลูกค้า ผู้บริโภค ลูกค้าจึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์การ การบริหารงานยุคใหม่ จึงมุ่ง สนองตอบต่อลูกค้าเป็นสำคัญ ( Customer Oriented )

พันธกิจ (Mission)
เป็นภารกิจหรือแนวทางนำไปสู่วิสัยทัศน์ เป็นกิจกรรมหลักที่ทำให้ วิสัยทัศน์บรรลุผล องค์ประกอบของพันธกิจ
- ทำอะไร (What) เป้าหมายคืออะไร
- ใครเป็นคนทำ (Who) ผู้รับผิดชอบคือใคร
- ทำอย่างไร (How) ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ดังนั้น พันธกิจอาจกำหนดไว้หลานด้าน เพื่อตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (เป้าหมายหลัก) ที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ ( Result) การประเมินผลการทำงานจะประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยประเมินทั้งผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
- ผลผลิต (Output) เป็นผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากโครงการ เป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการผลิตสินค้าและบริการ
- ผลลัพธ์ (Outcome) เป็นผลกระทบของโครงการ อาจเป็นผลด้านนามธรรมและส่งผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการโดยตรง
ตัวอย่าง
โครงการสร้างภาชนะเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำ ผลผลิตได้แก่ ภาชนะ หรือ อ่างเก็บน้ำ ผลลัพธ์ต้องดูว่าประชาชนใช้ ภาชนะเก็บน้ำหรือไม่ ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหรือไม่ คุณภาพของน้ำเป็นอย่างไร สาเหตุที่ประชาชนไม่นิยมบริโภคน้ำฝนขากภาชนะ เก็บน้ำ หรือไม่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นการพิจารณาผลลัพธ์ ดังนั้น การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ วิธีการที่ทำให้ บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดและประเมินผลการดำเนินการที่ผ่านมาว่าบรรลุผลตามเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งได้แก่การกำหนด วิสัยทัศน์พันธกิจ และผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ซึ่งจะทำงานไปวันๆ ไร้จุดหมายทิศทาง ดังเช่นอดีตที่ผ่านมาอีกไม่ได้

3. การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่(Paradigm Shift)

การปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานใหม่ เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิด วิธีทำงานของคน และหน่วยงานใหม่ เพื่อสร้างสรรค์บรรยายกาศการทำงานมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน
1. การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปฎิบัติงาน ให้มีความเต็มใจในการให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรี มองผู้มาติดต่อ เป็นลูกค้า ที่ต้องให้บริการด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปรับทัศนคติการทำงานที่ปกป้องตนเอง มาเป็นการทำงานเพื่อมุ่งผลสำเร็จ ของงาน
2. การปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำงานใหม่ ของผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นการสร้างสรรค์การทำงานให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถ ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความภูมิใจต่องานที่รับผิดชอบ ตลอดจนลูกค้าหรือประชาชนที่มาคิดต่อเกิดความพอใจ ประทับใจ ในการให้บริการ ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงานใหม่ ดังนี้
ก. มองประชาชนผู้มาขอรับบริการ หรือผู้มาติดต่อราชการ เป็นลูกค้า
ข. เปลี่ยนการทำงานที่ยึดเบียบปฎิบัติกฎเกณฑ์เคร่งครัดมาเป็นการทำงานที่ยืดหยุ่นมุ่งผลสำเร็จของงาน
ค. ปรับลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ใช้เอกสารใช้เวลามาก ให้มีขั้นตอนน้อยลง ใช้เอกสารและเวลาน้อยลงเท่าที่ไม่ขัดต่อระเบียบ
ง. การมอบอำนาจในการทำงาน (Delegation) การมอบอำนาจในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงาน ผู้ปฎิบัติงาน จะเป็นผลให้
· เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน
· ตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว
· ลดข้อจำกัดการทำงาน
· เพิ่มผลผลิตมากขึ้น
· การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
· เพิ่มขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฎิบัติงาน
จ. การจัดสำนักงาน จัดสภาพภูมิทัศน์ เป็นแนวคิดการจัดสภานที่ทำงาน และสภาพแวดล้อม ของสถานที่ทำงานให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานแนวความคิดในการจัดสำนักงาน และจัดสภาพภูมิทัศน์สมัยใหม่ ประกอบด้วย
· สำนักงานไร้กระดาษ ลดการใช้เอกสาร มีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ทันสมัย
· สถานที่ทำงาน สะอาด สวยงาม มีบรรยากาศเอื้ออำนวยต่อการทำงาน
· สร้างทีมงาน (Process Team) จัดสถานที่ทำงานเอื้ออำนวยต่อการทำงานเป็นทีม จัดโต๊ะทำงานหันหน้า เข้าหากันเป็นลักษณะการทำงานปรึกษาหารือสถานที่ประชุมสัมมนา
· จัดระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Automation Work Flow) นำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้ มีระบบโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ มาใช้ในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

4. การบริหารงานตำรวจยุคใหม่
การเปลี่ยนแปลงบทบาทองค์กร การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงองค์กรจำเป็นต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ก. การแบ่งงานตามหน้าที่ (Function) เปลี่ยนไปสู่การทำงานหลายด้าน(Multi-Function) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ให้แก่ผู้ปฎิบัติงานสามารถทำงานได้หลายหน้าที่
ข. การถูกควบคุม (Control) เปลี่ยนไปสู่การเพิ่มอำนาจ การบริหารงานเปลี่ยนจากเน้นการควบคุมเป็นการให้อิสระในการทำงาน แก่ผู้ปฎิบัติงานมีการตรวจสอบควบคุมน้อยลง
ค. การบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลง เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหาร หรือทำงานแบบเดิม ไปสู่การบริหารงาแบบใหม่ โดย การปรับเปลี่ยนสู่การบริหารงานยุคใหม่ ประกอบด้วยเงื่อนไข ดังนี้
· สร้างกระบวนการทำงานใหม่
· นำเทคโนโลยีมาใช้
· สร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่
· วิเคราะห์ลูกค้าและสถานการณ์
· มอบอำนาจการตัดสินใจ

ขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารงานยุคใหม่ นอกจากการดำเนินการตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ยังมีขั้นตอนการดำเนินการสู่การบริหารยุคใหม่ ประกอบด้วย
· สร้างวิสัยทัศน์การบริหารงาน (VISION) กำหนดเป้าหมายในการบริหารงาน การทำงาน
· กำหนดพันธกิจ (MISSION) กำหนดแนวทาง ภารหน้าที่ เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมาย
· กำหนดผลลัพธ์ (OUTCOME) พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการบริหารงาน การทำงาน
· สร้างตัวชี้วัด (INDICATOR) เพื่อวัดผลที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมายเพียงใด ตัวชี้วัดควรวัดในเชิงรูปธรรมได้
· วัดผลสัมฤทธิ์ เป็นการตรวจสอบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงทบทวน ขั้นตอนการดำเนินการ ทำงานของนักบริหารยุคใหม่

การทบทวนบทบาทภารกิจของผู้บริหาร เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของนักบริหาร ด้วยการตอบคำถาม ดังนี้
- วันๆ แค่รับโทรศัพท์กับเซ็นหนังสือก็หมดวันแล้ว
- ต้องนำงานกลับไปเซ็นที่บ้าน
- เจอหน้าใคร ก็บ่นว่าทำงานยุ่งตลอดวัน
- ควบคุมงานอย่างเข้มแข็งด้วยตนเอง
ถ้าการทำงานของท่าน เป็นไปตามคำถามที่ตั้งไว้ มากเท่าข้อใด แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการทำงานของท่าน อยู่ในเกณฑ์ที่ควรต้องปรับปรุงโดยเร่งด่วน

4. การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อมุ่งสู่การบริการประชาชน

ขั้นตอนสำคัญของการรื้อปรับระบบ
การปรับเปลี่ยนแนวความคิดของคนในหน่วยงานราชการ (Rethinking) จากกระบวนทัศน์เก่า เช่น ความเป็นเจ้าขุนมูลนาย หรือล่าช้าไปเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่ดีกว่า เพื่อให้การปฎิบัติงาน หรือพฤติกรรมการให้บริการสอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน เช่น มองประชาชนคือลูกค้าหรือทำงานอย่างรวดเร็ว นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการรื้อปรับระบบ การออกแบบกระบวนการ ทำงานใหม่ของหน่วยงานจะดีเลิศวิเศษเพียงใดหากคนในหน่วยงานยังมีกระบวนทัศน์เก่าๆ กระบวนการทำงานที่ออกแบบใหม่ก็ย่อม ล้มเหลว แต่ถ้าคนในหน่วยงานมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่สอดคล้องกับการทำงานแล้ว ย่อมทำให้กระบวนการทำงานประสบความสำเร็จ

ความหมายของกระบวนทัศน์และการปรับเปลี่ยน
กระบวนทัศน์ มาจากภาษาอังกฤษว่า "Paradigm" (พาราไดม์ ) คือแนวทางหรือวิธีการทำงานที่ยึดกันมา โดยเชื่อว่า หากทำแล้วจะทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งหากความเชื่อนี้เปลี่ยนไป ก็จะทำให้วิธีการหรือวัฒนธรรมการทำงานเปลี่ยนแปลง ไปด้วยดังนั้น กระบวนทัศน์จึงเป็นวงล้อม หรือกรอบการทำงานของเรา การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ จึงเป็นการแหกวงล้อม หรือเปลี่ยนกรอบการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไปและตรงกับความต้องการของประชาชนซึ่งเป็นลูกค้าคนสำคัญของหน่วยงานราชการ

วิวัฒนาการของกระบวนทัศน์หน่วยงานราชการ
หน่วยงานราชการไทยไม่ได้หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อภารกิจหน้าที่ที่สังคมกำหนดให้ดำเนินการไปได้ อย่างราบรื่นนับตั้งแต่ระบบราชการไทยก่อตั้งขึ้นมาในสมัยสุโขทัย กระบวนทัศน์ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดและมีการ ตกทอดสั่งสมกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจแบ่งกระบวนทัศน์หลักของหน่วยงานราชการได้ 4 ช่วง คือ
1. กระบวนทัศน์เจ้ากับไพร่
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ตั้งตัวและสร้างรัฐ ( State ) ขึ้นมาได้ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.1800 ในสมัยสุโขทัย ข้าราชการคือข้าราชบริพารของพ่อขุนผู้ปกครองประเทศทำหน้าที่ในการรักษาความสงบ เก็บภาษีและเกณฑ์ไพร่ฟ้าประชาชน ไปทำการรบเมื่อเกิดศึกสงคราม ดังนั้นข้าราชการจึงมีอำนาจในการบังคับบัญชาประชาชนมากบ้างน้อยบ้างตามตำแหน่งที่เป็นอยู่ โดยระบบศักดินา ใครมีมากก็จะมีอำนาจมาก ใครมีศักดินาน้อยก็จะมีอำนาจน้อยลดหลั่นลงไปประชาชนทั่วไปจะต้องเป็นไพร่ มีสังกัดมูลนาย หรือทาสที่มีเจ้านาย ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษตามกบิลเมือง ประชาชนในยุคนี้จึงมองดูข้าราชการคือผู้รับมอบ อำนาจสิทธิ์ขาดจากผู้ปกครองที่จะลงโทษอะไรกับตนก็ได้ ส่วนราชการก็ถือว่าตนเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญเหนือกว่าประชาชน ทั่วไป ความสัมพันธ์จึงเสมือน " เจ้ากับไพร่ " ส่วนภาคเอกชนยังไม่ปรากฎชัดเจนเป็นหน้าที่ของรัฐในการค้าขาย
2. กระบวนทัศน์ผู้พิทักษ์
เมื่อประเทศไทยได้พัฒนาเพิ่มความสลับซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นองค์อธิปัตย์ที่พระบรมราชโองการคือกฎหมาย ไม่สามารถปกครองประเทศได้อย่างทั่วถึง ต้องมีข้าราชการบริพาร ต่างพระเนตรพระกรรณมากขึ้น จะต้องแบ่งซอยหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ และเพิ่มมากขึ้น ประจวบกับลัทธิล่า อาณาณิคมโดยประเทศมหาอำนาจที่สามารถปรับระบบราชการแบบแบ่งหน้าที่ให้มากขึ้น จนระบบราชการกลายเป็นสถาบันที่ก่อความ เจริญให้แก่ประเทศอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในแถบตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศส หรืออังกฤษ เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยเพื่อความอยู่รอดและสามารถยึดโยงสถาบันทางสังคมที่คล้ายคลึงกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อช่วยค้ำจุนให้สังคมเข้มแข็ง ขึ้นจากที่เคยเป็นสภาพชุมชนเมือง อยู่กระจัดกระจายมีความสัมพันธ์กับเมืองหลวง แค่ส่งบรรณาการไพร่พลเข้าช่วย เมื่อเกิดสงคราม ก็เกิดเป็นความสัมพันธ์กันทางกฎหมาย ส่วนกลางส่งข้าราชการที่มีความรู้ปกครองประเทศมีอำนาจออกกฎระเบียบให้สอดคล้องกับรัฐ ใช้กฎหมายและตีความกฎหมายประชาชนในยุคนี้จะมีความเชื่อมั่นว่าข้าราชการคือ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายการกระทำผิดต่อข้าราชการ อาจได้รับโทษทัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนข้าราชการก็ถือว่าเป็นบุคลากรของประเทศที่มีความรู้ความชำนาญทางกฎหมายสามารถ เอาผิดกับประชาชนได้ถ้าให้เสียการปกครอง และผิดระเบียบที่วางไว้ในยุคนี้จึงเป็นยุคกระบวนทัศน์แบบผู้พิทักษ์ที่มีผู้ปกครองกับ ผู้ใต้ปกครอง โดยอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนเริ่มปรากฏตัวในวงแคบๆภายใต้การควบคุมของรัฐโดยเฉพาะ การค้าข้าว
3. กระบวนทัศน์ผู้ชี้นำการพัฒนา
ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา สหประชาชาติได้ส่งเสริมการ พัฒนาประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีธนาคารโลกเป็นองค์กรสนับสนุน ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เข้าร่วม กระบวนการพัฒนาประเทศที่ทันสมัย ในปี 2504 ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเพื่อเป็นกรอบการพัฒนาด้านเศรษกิจ ของประเทศ โดยทั้งนี้ ระบบราชการได้เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะระบบราชการ มีทั้งบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมจนอาจกล่าวได้ว่าพร้อมกว่าองค์กรใดๆ ในสังคมแม้แต่ภาคธุรกิจเอกชนจะต้อง อิงบุคลากรภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการรณรงค์เพื่อการพัฒนาประเทศได้ทำให้รายได้ของประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8 -10 ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เพิ่มขึ้นถึงเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น อย่างไรก็ตามกระบวนทัศน์ของข้าราชการจะเกิดการผสมผสานระหว่างผู้ปกครอง และยุคของผู้ใต้ ปกครองกับกระบวนทัศน์ ถือว่าตนคือผู้นำการพัฒนาแต่เพียงสถาบันเดียวในสังคมก็ยังทำงานใต้กรอบดังกล่าวโดยถือว่ากฎหมาย ได้ระบุหน้าที่อะไรในหน่วยงานทำก็ทำงานหน้าที่นั้น ไม่ได้คำนึงถึงการผนึกกำลังตัวใครตัวมัน หรือบางทีเป็นปฎิปักษ์ต่อกันระหว่าง ผู้ที่ทำงานอยู่ในเรื่องเดียวกัน เกิดงานซ้ำซ้อน ผลก็คือบางครั้งโครงการสำคัญไม่ประสบความสำเร็จและปัญหาเพิ่มความสลับซ้ำซ้อน ยากต่อการแก้ไขมากขึ้น โดยได้มีผู้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่าประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์เท่าที่ควรทั้งๆ ที่โครงการต่างๆ อย่างดีมีข้าราชการที่มีความเชี่ยวชาญ ( Expert ) เข้าไปดูปัญหา ศึกษาความเป็นไป เสนอโครงการจัดทำแผนดำเนินการ ฯลฯ อย่างละเอียดและเป็นระบบ ครั้นพอดำเนินการตามโครงการไปแล้วมาประเมินดู ก็มักจะพบโครงการประสบผลตามแผนแต่ประชาชน กลับได้รับผลประโยชน์น้อยทั้งนี้เกิดจากข้าราชการที่ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูปัญหาแล้ว เป็นผู้บอกวิธีแก้ปัญหาและทำการแก้ไข ปัญหาเองโดยประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม จึงทำให้การพัฒนาไม่สำเร็จจากกระบวนทัศน์ในยุคนี้ทำให้ข้าราชการกับประชาชนเกิด ความขัดแย้งทางด้านความคิดปฎิบัติ เพราะข้าราชการจะมองประชาชนว่าเปลี่ยนแปลงยาก ในขณะที่มองข้าราชการว่าเสนอแนะวิชาการ ซึ่งทำได้ยากในทางปฎิบัติ ส่วนภาคเอกชนได้รับผลพวงจากการพัฒนาเต็มที่ และกลายเป็นอีกภาคหนึ่งที่มีพลังทางสังคม
4. กระบวนทัศน์ยุคใหม่
การพัฒนาประเทศซึ่งข้าราชการยังเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) จะต้องเปิดโอกาสให้กลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาและการบริหาร เพราะการเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลง หลายด้านภาคราชการอย่างเดียวจะไม่เพียงพอที่จะนำในการพัฒนาประเทศได้สำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาในปัจจุบันเป็นเรื่อง ที่ละเอียดอ่อนสลับซับซ้อนจึงจำเป็นจะต้องพัฒนาโดยอาศัยการผนึกกำลังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายข้าราชการเอง องค์กร พัฒนาเอกชน ธุรกิจ ฯลฯ ดังนั้นข้าราชการในยุคปัจจุบันจึงต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายเข้าทำงานร่วมกัน ใช้ความ พยายามร่วมกันและไม่เป็นปฎิปักษ์ต่อกันโดยการปฎิบัติอย่างจริงจัง (Interactive Learning Through Action) ในขณะเดียวกัน หน่วยราชการจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดและทัศนคติในการทำงานให้มีความรวดเร็ว มีคุณภาพทันสมัย และสร้างความพึงพอใจ ให้เกิดกับประชาชน ตลอดจนความรวดเร็ว มีคุณภาพทันสมัย และสร้างความพึงพอใจให้เกิดกับประชาชนตลอดจนส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีความแข็งแกร่ง สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

กระบวนทัศน์เก่าที่ต้องเปลี่ยนแปลง
การให้บริการหรือบริหารงานของหน่วยราชการมี ทั้งที่ยึดติดอยู่กับกระบวนทัศน์เก่า ตกทอดมาจากอดีต โดยไม่สร้าง กระแสคลื่นใหม่ใดๆ ให้สะเทือนสถานภาพเดิม พยายามเลี่ยงความผิด โดยยึดระเบียบกฎหมายเป็นที่ตั้ง ไม่แกว่งเท้าหาเสี้ยนหรือ อย่าให้ปัญหามาหยุดบนที่โต๊ะปัดไปให้คนอื่นให้เร็วที่สุดซึ่งขัดกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

กระบวนทัศน์เก่า ๆ ของหน่วยงานราชการที่สำคัญ คือ

1. เจ้าขุนมูลนาย
มองประชาชนคือผู้อยู่ใต้ปกครองซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ ที่ตกทอดมาแต่โบราณ ทำให้นำไปสู่การมองว่าการให้บริการประชาชน คือสิ่งที่ข้าราชการบริจาคให้
2. การดำเนินงานล่าช้า
มีขั้นตอนมากมาย เพื่อป้องกันการทุจริต จึงต้องมีขั้นตอน ของการตรวจสอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
3. มุ่งรักษาสถานภาพ
มองว่างานใดหากยังไม่มีปัญหาก็ปล่อยไปก่อน อย่าไป เปลี่ยนแปลงจะต้องกระทบกับคนอื่นหรืองานอื่นที่ไม่จำเป็น ก่อให้เกิดความคิดที่ไม่อยากสร้างสรรค์ใหม่ๆ
4. ยึดกฎระเบียบตายตัว
การปฎิบัติงานจะต้องยึดระเบียบกฎหมายตายตัวและในบางครั้ง สร้างกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากที่เคยมีอยู่เพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวทำให้การทำงานไม่ยืดหยุ่น
5. แบ่งงานกันทำชัดเจนเกินไป
การแบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน ทำให้แต่ละคนมุ่งทำงานที่ รับผิดชอบจนเกินไปไม่สามารถเวียนรอบข้างได้ทำให้งานบางงานมีคนว่างงาน ในขณะที่บางงานมีคนมากเกินไป
6. สายการบังคับบัญชา (Hierachy)
หน่วยราชการยังมีขั้นตอนการปฏิบัติงานยาว เนื่องจาก เป็นระบบรวมอำนาจขั้นตอนจากหน่วยปฏิบัติถึงหน่วยนโยบายจึงยาวมาก
7. เน้นการควบคุม
การทำงานมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน เนื่องจากไม่ไว้วางใจ บางหน่วยงานจะรวมศูนย์อยู่ที่หัวหน้าหน่วยงานเพื่อสร้างความสำคัญให้กับตนเอง
8. ทำงานตามสายงานอย่างเข้มงวด
แต่ละสายงานแข่งขันกันมากเกินไปและปัดความรับผิดชอบ ปัญหาที่ไม่ตรงสายงานก่อให้เกิดปัญหาการปัดความรับผิดชอบ
9. ไม่มีมาตรฐานงาน
การปฎิบัติงานจึงไม่มีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรในการปฎิบัติงานมาก แต่ได้ ผลงานน้อยและคุณภาพของงานไม่ดี
10. เช้าชาม - เย็นชาม
พฤติกรรมการทำงานของข้าราชการบางคนไม่อุทิศตัวให้กับราชการ รับราชการ เป็นงานอดิเรก ให้เสร็จไปวัน ๆ หรือแบบ "เช้าชาม - เย็นชาม" รวมทั้งใช้เวลาราชการในการแสวงการรายได้พิเศษส่วนตัว
11. ไม่ใช้เทคโนโลยี
หากเปรียบเทียบกับภาคเอกชน ระบบราชการไม่ค่อยสนใจที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการปฎิบัติงานเน้นแต่การใช้แรงงานหรือบุคคลมาก การไม่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องงานล่าช้าและไร้ประสิทธิภาพ

ผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ
การติดยึดกระบวนทัศน์เก่าที่กล่าวมาแล้วได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อหน่วยงานราชการที่สำคัญ คือ
· ประชาชนเกิดวิกฤตศรัทธา
· การบริหารและบริการล่าช้า
· การปฎิบัติงานขาดความยืดหยุ่น
· หน่วยราชการปรับเปลี่ยนไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
· ขาดการเกื้อหนุนในการทำงาน
· ข้าราชการเกิดความเบื่อหน่าย และนำไปสู่ความท้อถอยในการทำงาน

กระบวนทัศน์ยุคใหม่
การรื้อปรับระบบเริ่มต้นด้วยการทบทวนความคิดใหม่ (Rethinking) ซึ่งเป็นการปรับกระบวนทัศน์ ซึ่งเป็นการคิดที่เปลี่ยนแปลงแตกต่าง จากเดิมอย่างสิ้นเชิงโดยกระบวนทัศน์ที่สำคัญประกอบด้วย
· มองประชาชนเป็นลูกค้าที่ต้องมาเป็นลำดับแรก
· หน่วยงานที่มีโครงสร้างแบนราบ (Flat Organsiztion)
· ทำงานด้วยความรวดเร็ว
· การทำงานเป็นทีม
· ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์
· สร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่อง
· มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง
· การทำงานที่ยึดกระบวนการที่ยืดหยุ่น
· มีการวัดผลงาน
· ประหยัดและไม่พึ่งงบประมาณของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว
· แสวงหาทรัพยากรทั้งนอกงบประมาณและทรัพยากรอย่างอื่น ทั้งในและต่างประเทศ
· นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน




*****************






ข้อมูลอ้างอิง
เอกสารคำบรรยายของกรมการปกครอง www.dopa.go.th/layout/handb3.html

มาจัดระเบียบตำรวจกันเถิด

มาจัดระเบียบตำรวจกันเถิด

30 มิถุนายน 2545

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราขยันจัดระเบียบสังคมกัน แล้วเราก็หยุดขยันสักพัก เพื่อรอเวลาขยันใหม่ ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่น่าแปลกคือ ที่เรามองเห็นว่า มท.1 จัดระเบียบสถานบันเทิงนั้น นอกจากเร่งรัดการบังคับใช้กฏหมายที่ตำรวจ(แกล้ง)ลืมแล้ว ความจริง ท่านจัดระเบียบตำรวจไปด้วย แต่ไม่มีใครเรียกว่า “ จัดระเบียบตำรวจ ”

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้ ร่วมมือกันผลักดัน ช่วยกันจัดระเบียบตำรวจ ให้ตำรวจมีความพร้อมปฏิบัติงาน คือ
1. ตำรวจท้องที่ และตำรวจผู้กำหนดนโยบาย
2. ประชาชนผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากอาชญากรรม
3. สื่อต่างๆ และนักวิชาการที่ปรารถนาให้ตำรวจทำงานอย่างมีประสิทธิผล
4. ภาคธุรกิจ นักวิชาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนผู้ประกอบการทั้งหลาย

ภารกิจตำรวจนั้น นับวันก็จะเริ่มจะเจาะจงเฉพาะงานตำรวจแท้ๆ ที่ต้องใช้ฝีมือตำรวจ ไม่ใช่ทำงานจับฉ่าย แบบครอบจักรวาลอีกต่อไป ตั้งแต่แยกงานหนังสือเดินทางออกไป แยกงานทะเบียนรถยนต์ออกไป และอะไรๆอื่นๆที่อาจจะแยกไปอีก ก็จะเหลือภารกิจสำคัญของตำรวจซึ่งก็คือ ต่อสู้อาชญากรรม และรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่รับแจ้งเหตุ ..ไปจนถึงจัดระเบียบจราจร และงานที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษ เช่น สืบสวน ตามล่าคนร้าย ปราบจลาจล ควบคุมฝูงชน งานประเภทหลังนี้ค่อนข้างเสี่ยงชีวิตกว่าประเภทแรก

นโยบายรัฐบาลทักษิณด้าน “ความปลอดภัยของประชาชน” แถลงไว้เมื่อต้นปี 2544 ว่า

(๑) ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นมาตรการทั้งการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท พร้อมทั้งจัด ระบบป้องกันสาธารณภัยและอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและทันท่วงที
(๒) สนับสนุนให้ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันอาชญากรรมและสาธารณภัยใน ชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง

ตำรวจกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ในบรรดาหน่วยงานต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม ตำรวจจะอยู่ใกล้ชิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากกว่าหน่วยอื่น (ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายนิติบัญญัติ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ หรือทนาย) แต่ปรากฏว่า กลับใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเฉพาะในคดีอุกฉกรรจ์ แต่มองข้ามการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในงานพื้นฐาน โดยเฉพาะงานบริการประชาชน

ตำรวจไทยจัดตั้งระบบรับแจ้งเหตุหมายเลข 199 และ 191 มากว่า 20 ปีแล้ว เดี๋ยวนี้ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินก็ยังกระจุกอยู่แต่ในกรุงเทพฯ ขยายไปต่างจังหวัดไม่ค่อยสำเร็จ แต่กลับมีบริการทางหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแจ้งเกิดอีกหลายเบอร์ จัดเบอร์ฉุกเฉินให้ประชาชนจำหลายๆ เบอร์จนสับสนไปหมดจนไม่รู้จะโทรเบอร์ไหน ดีไม่ดีโทรไปแล้วอารมณ์เสีย ทะเลาะกันไปอีก ไม่มีประเทศไหนเขาปล่อยเบอร์ฉุกเฉนออกมาเยอะแยะจนเปรอะอย่างนี้

เบอร์โทรศัพท์ 191 ของตำรวจในต่างจังหวัดแทบทั้งหมด ยุ่งเหยิงและวุ่นวาย ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เลย เพราะโทรไม่ติดบ้าง โทรติดแล้วก็ไม่มีผู้รับสาย ตำรวจยกหูไว้เฉยๆไม่ยอมรับสาย หรือบางคนโชคดีโทรติดแต่ปรากฏว่าไม่ใช่ท้องที่รับผิดชอบของโรงพักนั้น ฯลฯ สารพันปัญหา ว่างั้นเถอะครับ

ไม่ใช่แค่นี้ เชื่อไหมครับว่า ตำรวจเริ่มมีทั้งคอมพิวเตอร์และทั้งวิทยุสื่อสารมาก่อนหน่วยงานอื่นในประเทศไทย (ตั้งแต่ต้นทศวรรษ พ.ศ.2510) แต่ก็ยังไม่ได้พัฒนาไปถึงไหน มันน่าศึกษาวิจัยจริงๆ ว่าอะไรเป็นจุดอ่อน.....the weakest link? ทำไมเทคโนโลยีกับตำรวจจึงไปด้วยกันไม่ค่อยได้ เชื่อว่าท่านนายกฯ ของเรามีคำตอบอยู่ในใจแน่นอน พันเปอร์เซนต์ เพราะท่านเคยเป็นตำรวจในสายเทคโนโลยีนี้

ยิ่งมีผลการสำรวจของบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือเพิร์ค (PERC) รายงานเรื่องตำรวจและยุติธรรมของไทย พบว่าไทยอยู่รองบ๊วยในเอเชีย ตำรวจไทยความรู้น้อย รายได้ก็น้อย แถมความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ของตำรวจไทยแทบไม่มีเลย !! …….เหลือเชื่อ!! ทั้งๆที่ตั้งกองพิสูจน์หลักฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นเวลา 70 ปี!! แล้วครับ

ความจริง ตำรวจก็ได้พัฒนางานบริการประชาชน โดยเฉพาะสถานีตำรวจมาอย่างต่อเนื่อง เริ่ม พ.ศ.2537 จาก “โรงพักของเรา ” มาเป็น “โรงพักเพื่อประชาชน” ในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรในมุมมองของตำรวจ แต่ถามว่าในมุมมองของประชาชนเป็นอย่างไร ยังตอบไม่ได้ คงต้องรอดูผลการประเมินความเห็นของประชาชน

ลองหันไปฟังเสวนาที่สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จัด เรื่อง “ตำรวจไทยยุค 2001 : ทิศทางที่ควรจะไปเพื่อประชาชน” เมื่อ 5 เม.ย.2544 ท่านวิทยากรบางท่านชี้ว่า ตำรวจในสายตาประชาชนมีภาพเป็นลบ ใช้กฏหมายเพื่อแสวงประโยชน์ให้ตนเอง ใช้อำนาจกลั่นแกล้งประชาชน...... บางท่านก็กล่าวว่าตำรวจมีเงินเดือนน้อย ด้อยสวัสดิการ ......ฯลฯ วิทยากรอาจจะมีทัศนะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ทั้งหมดก็ต้องการให้ไปในทิศทางเพื่อประชาชน

จะจัดระเบียบตำรวจอย่างไร

ที่สหรัฐอเมริกา ก็มีปัญหาเหมือนกันครับ กว่าจะมาเป็นสุดยอดของโลกทุกวันนี้ ลองดูปัญหาของตำรวจสหรัฐสักหน่อย ในปี ค.ศ.1964 ได้มีการยกปัญหาอาชญากรรมขึ้นมาเป็นประเด็นหาเสียงในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

สถานภาพอาชญากรรมของสหรัฐอเมริกาขณะนั้น คือเพิ่ม 2 เท่าจากปี ค.ศ.1940 ถึง 1965 ดูเหมือนว่าจะไม่มาก แต่มันเพิ่มเร็วกว่าอัตราเพิ่มประชากรถึง 5 เท่า!! เฉพาะปี ค.ศ.1964 ปีเดียว อัตราเพิ่มอาชญากรรมราว 13 % หลังจากที่ได้รับเลือก ในปี ค.ศ.1967 ประธานาธิบดีจอห์นสัน จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติเรียกว่า คณะกรรมการด้านตำรวจและบริหารงานยุติธรรม (President’s Crime Commission on Law Enforcement andAdministration of Justice) เพื่อศึกษาปัญหานี้

คณะกรรมการชุดนี้ ได้รายงานว่า วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศมีความทันสมัย (คือช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น) มีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก แต่กลับมีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมเพียงเล็กน้อยจนน่าประหลาดใจ เหตุผลที่เขาพบก็คือ คนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมกับคนที่อยู่ในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ห่างเหินต่อกันไม่มีความร่วมมือกัน ผลก็คือ การประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้ในกิจการตำรวจเป็นไปได้ช้าเกินไป

ในรายงานของคณะกรรมการชุดนี้ ยังบอกด้วยว่า “ ....แม้ตำรวจ ซึ่งมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (Crime Laboratories) และเครือข่ายวิทยุสื่อสาร (Radio Networks) จะได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ก็จริง แต่ก็น่าจะได้มีใช้มาก่อนหน้านี้สัก 30-40 ปีเสียด้วยซ้ำ...... ”

ในยุคนั้น มีตำรวจคนหนึ่งพูดประชดไว้น่าฟังว่าอย่างนี้ “ ศูนย์ควบคุมที่ฐานยิงจรวดพูดกับนักบินอวกาศบนดวงจันทร์ได้ แต่ผมเรียกเพื่อนตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ห่างแค่บล็อกถนนถัดไปไม่ได้ ” แปลว่า มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่มีปัญหาในการปรับใช้ในกิจการตำรวจ

ในรายงานนี้ได้มีข้อเสนอแนะอยู่ 12 ข้อ ในจำนวนนี้มี 5 ข้อที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสื่อสาร อีก 7 ข้อ นอกนั้นเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านลายพิมพ์นิ้วมือ ด้านการจัดสรรกำลังตำรวจ (manpower allocation) การติดตั้งตู้โทรศัพท์แจ้งเหตุ (police callboxes) การศึกษาเปรียบเทียบด้านอาชญากรรม การจับกุม และการสืบสวนในท้องที่

ในบรรดาข้อเสนอแนะทั้งหมดนี้ มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ต่อมาได้มีการปรับปรุงพัฒนาอย่างกว้างขวาง(เพราะเป็นบริการพื้นฐานที่สุดที่ตำรวจมอบให้สังคม) สิ่งนั้นคือ ระบบรับแจ้งเหตุ 911 ร่วมกับการใช้คอมพิวเตอร์ (911 dispatch and computerization)

การเปลี่ยนแปลงในเรื่อง ระบบรับแจ้งเหตุ 911 และส่งตำรวจออกปฏิบัติ (911 dispatch) ในปี ค.ศ.1968 ครั้งนั้น เท่ากับเป็นการปฏิวัติงานบริการของตำรวจอย่างขนานใหญ่ การพัฒนางานบริการของตำรวจเกิดขึ้นทั้งประเทศอย่างต่อเนื่อง เพียงไม่กี่ปีก็ครอบคลุมเมืองใหญ่ทุกเมืองในสหรัฐอเมริกา ยิ่งในปัจจุบันนำระบบ 911 ไปเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ด้วย ยิ่งทำให้ตำรวจค้นข้อมูลได้รวดเร็ว

และเดี๋ยวนี้เขายกระดับไปเป็น E911 (enhanced 911) แล้ว เขาสามารถรู้ทั้งเบอร์โทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้านหรือมือถือ ทั้งตำแหน่งที่อยู่ แทบจะรู้ชื่อเจ้าของเบอร์ด้วยซ้ำ

ตอนแรกๆที่เอาระบบ 911 มาใช้ งานรับแจ้งเหตุเป็นภาระที่แสนโหด เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จิ๊บจ๊อยแค่ไหน ก็ต้องบริการทั้งนั้น มิฉะนั้น สังคมและสื่อต่างๆจะร้องเรียนและรุมประณาม ไม่เพียงเท่านั้น ภาระของตำรวจสายตรวจที่ลาดตระเวนในพื้นที่ก็เพิ่มตามไปด้วย เคยทำงานสบายๆอยู่ดีๆ ก็เริ่มเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า เพราะต้องถูกส่งออกไปให้วิ่งรอกจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

ตอนขึ้นต้นเป็นการนำระบบ 911 มาช่วยงานบริการประชาชน แต่พอใช้ไปเรื่อยๆ กลับกลายเป็นระบบที่บังคับตำรวจให้ทำงานอย่างมีคุณภาพ ผลที่สุดประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ตกอยู่กับทั้งตำรวจผู้ให้บริการ และประชาชนผู้รับบริการ เดี๋ยวนี้สหรัฐอเมริกาขาดระบบ 911 ไม่ได้เพราะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเสียแล้ว

นาย ลี พี บราวน์ (Lee P. Brown) ซึ่งอดีตเคยเป็นหัวหน้าตำรวจในหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา เขียนไว้ในปี ค.ศ.1989 ว่า “….. ยากที่จะให้ตำรวจบริการที่มีคุณภาพ (the level and quality of services the community deserves) แก่ประชาชนได้ โดยปราศจากการใช้เทคโนโลยี ตัวอย่างเช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการส่งตำรวจออกปฏิบัติในพื้นที่ (computer-aided dispatch) คอมพิวเตอร์ในรถสายตรวจ ระบบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ ระบบรายงานการทำผิดกฏหมายโดยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น....... ”

การพัฒนาเทคโนโลยีตำรวจที่น่าสนใจ


(ตาราง)

ความร่วมมือ

นโยบายรัฐบาลด้านความปลอดภัยของประชาชนข้อ 1 ยังไม่มีใครเร่งรัดดำเนินการ “จัดระบบป้องกันสาธารณภัยและอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและทันท่วงที” แล้วเราจะทำอย่างไรดีครับ ประเทศไทยเราก็ยังไม่มีคณะกรรมการระดับชาติมาดูแลเรื่องอาชญากรรม ในระดับผู้บริหารประเทศก็ยังแบ่งสรรอำนาจในกระบวนการยุติธรรมไม่ลงตัว ยังไม่มีใครยกเรื่องประโยชน์ของบริการรับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ 191 ขึ้นมาพิจารณา คงต้องให้ประชาชนโทรไป รายการวิทยุ “ร่วมด้วยช่วยกัน”หรือ “จส.100” หรือ “สวพ.91” แล้ว ทางรายการค่อยแจ้งขอความช่วยเหลือตำรวจอีกทอดหนึ่ง

คนไทยเรารักกัน เอื้อเฟื้อต่อกัน ช่วยเหลือกันยามเดือดร้อน ก็ช่วยกันเองไปก่อน หน้าที่อย่างนี้ต้องเป็นงานของตำรวจ ทำใจเย็นๆรอดูไปก่อนดีไหม ให้อำนาจไปแล้ว ถ้ายังไม่ทำอะไร เดี๋ยวมีคนเอาอำนาจไปให้หน่วยอื่น ตำรวจจะเสียเวลาไปตามเอาคืนมาเปล่าๆ

หรือว่าในระหว่างรอ เอาอย่างนี้ดีกว่าครับ ขอให้ตำรวจท้องที่ และตำรวจผู้กำหนดนโยบาย ที่มองเห็นประโยชน์ ประชาชนผู้ที่ประสบความเดือดร้อนจากอาชญากรรมช่วยเรียกร้องให้ยกระดับคุณภาพบริการจากตำรวจ แล้วก็สื่อต่างๆ และนักวิชาการที่ปรารถนาให้ตำรวจทำงานอย่างมีประสิทธิผลตลอดจนภาคธุรกิจ นักวิชาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และผู้ประกอบการทั้งหลาย ช่วยกันนำเสนอเทคโนโลยีหรือจัดหาระบบที่ว่านี้มาใช้บริการประชาชน ช่วยกันจัดระเบียบตำรวจกันหน่อยเถิดครับ


****************

ที่มาข้อมูล:

1. นโยบายรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณฯ แถลงต่อรัฐสภา เมื่อ 26 ก.พ.2544
2. เดลินิวส์ 3-4 มิ.ย.2545 หัวข้อข่าวหน้าหนึ่ง “ ตีแสกหน้าไทย ตร.-ยุติธรรม รองบ๊วยเอเชีย ” และ “ รับตำรวจเรียนน้อยเลยทุจริต ”
3. The Evolution and Development of Police Technology: National Institute of Justice 1998.
4. http://www.ipoll.th.org/article/police2001/police2001.htm
5. http://ems.fire2rescue.com/articles1.html

ตำรวจไทยกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ตำรวจไทยกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

12 ต.ค. 2550

นับตั้งแต่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ 2550 ประกาศราชกิจจาฯ เมื่อ 18 มิ.ย. 2550 และให้มีผลบังคับใช้หลังจากนั้น 30 วัน ก็เกิดความตื่นตระหนกกันอยู่พักหนึ่งเป็นธรรมดา โดยเฉพาะผู้ประกอบการและประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ เพราะยังไม่รู้ชัดเจนว่าถูกกระทบอะไร ต้องทำอะไรบ้าง ก็ย่อมเกรงกลัวว่าจะได้รับโทษตามกฎหมาย

ภาครัฐก็มีความโกลาหลพอสมควร เพราะต้องสร้างความชัดเจน ในส่วนที่ต้องปฏิบัติเพื่อบังคับใช้กฎหมาย 30 มาตรานี้ ทราบมาว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ตรวจแก้ไขกันหลายรอบ สัก 4-5 ปี กว่าจะผ่านมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ เพราะการทำกฏหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็วมีความยุ่งยากมาก

ตั้งศูนย์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

ตำรวจได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นเป็น ศูนย์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตั้งแต่ปี 2547 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า HIGH-TECH CRIME CENTER ขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่อยู่เพียง 4-5 คน เพื่อรองรับอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางเทคโนโลยี สมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายคอมพิวเตอร์ การดำเนินคดีต่างๆจึงอาศัยกฎหมายที่มีอยู่บังคับใช้ ซึ่งมีอุปสรรคในการทำงานพอสมควร เนื่องจากการกระทำหรือละเมิดบางอย่าง กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นการกระทำผิด

ต่อมา 30 มิ.ย. 2548 ตำรวจจึงได้จัดตั้ง ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี ขึ้น เพื่อให้เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนให้ตำรวจที่เป็นหน่วยปฏิบัติสามารถดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสนับสนุนด้านเทคนิค ในการสืบสวน ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ฯลฯ และประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

แนวโน้มการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์สูงขึ้น

อธิบายอย่างง่าย ๆ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี หมายถึงการใช้เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีในการกระทำผิด อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ใช้กันมากในประเทศไทยเรา มีอยู่ 2 อย่างคือคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นที่พบบ่อย ได้แก่ไอพอด กล้องวงจรปิด เครื่องบันทึกเสียง กล้องบันทึกภาพวิดิโอ อุปกรณ์รูดบัตรเครดิต ฯลฯ ในอนาคตอาจจะมีอุปกรณ์เทคโนโลยีอื่นอีก ในยุคดิจิตอลนี้ อุปกรณ์เทคโนโลยีส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ระบบดิจิตอล เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้แทบทั้งหมด

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะทางอินเตอร์เน็ต) และทางโทรศัพท์มือถือ มีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะความยากในการระบุตัวคนที่ทำผิด อย่างไรก็ดี แม้เราจะไม่รู้ตัว ไม่เห็นหน้าคนร้ายในขณะกระทำผิด แต่ก็ยังใช้เทคนิคการสืบสวนทางคอมพิวเตอร์ พอติดตามคนร้ายได้

ในบทความนี้ จะขอกล่าวเฉพาะอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นหลัก เนื่องจากมีปริมาณมากและกระทบสังคมกว้างขวางกว่า สำหรับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีอื่น จะขอยกไปในโอกาสต่อไป

ข่าวสารบนเว็บ

ในบรรดาสื่อทั้งหลาย อินเตอร์เน็ตนับเป็นสื่อสาธารณะใหม่ที่สุด (สื่อโบราณที่สุด คือหนังสือพิมพ์) ข้อมูลข่าวสารบนเว็บนั้นมีทุกอย่าง บางคนเรียกว่าเป็นห้องสมุดโลก

การท่องอินเตอร์เน็ต ก็คือการเข้าไปอ่านข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่เหมือนอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ เพราะข่าวสารบนเว็บเป็นข่าวสารที่ไม่มีระบบการตรวจสอบว่าจริงหรือเท็จ ส่วนใหญ่ไม่มี บ.ก.ไม่มีระบุแหล่งข่าว ไม่มีอ้างอิง จึงไม่มีผู้รับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสาร แม้จะมีกฎหมายคอยควบคุมเพื่อให้มีผู้รับผิดชอบต่อข่าวสารนั้น แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยทันการ เนื่องจากข่าวแพร่กระจายไวเหลือเกิน

เพราะในยุคนี้ข้อมูลข่าวสารมีอำนาจมาก พลังของมันสามารถทำสิ่งที่เราคาดไม่ถึง ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยบางอย่างก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมาก นอกจากนี้เคยมีการตรวจพบว่าขบวนการก่อการร้ายติดต่อสื่อสารกัน เพื่อวางแผนในเหตุการณ์ 9/11 ทางอินเตอร์เน็ต โดยใช้วิธีซ่อนข้อมูลไว้ในแฟ้มภาพ (steganography)

นอกจากเสนอข่าวสารบนเว็บแล้ว ยังมีการเสนอสินค้าและบริการ จึงมีการทำธุรกิจบนเว็บด้วย ธุรกิจต่างๆบนเว็บมีทั้งสีขาว สีดำและสีเทา ปะปนกันอยู่

รู้ทันสื่อ (Media Literacy)

ทุกวันนี้ มนุษย์เราเสพสื่อกันจนสำลักข้อมูลข่าวสารกันแล้ว สำหรับประเทศไทยเรา สื่อก็แข่งขันกันอย่างหนัก ผู้เขียนสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ทำไมสื่อจึงแข่งขันกันเสนอแต่ “ ข่าวร้าย ” มากกว่า “ ข่าวดี ”

อิทธิพลของสื่อนั้นมีมากจริงๆ สื่อจะเป็นผลดีหรือผลร้ายต่อสังคม ไม่ใช่อยู่ที่คนทำสื่อเท่านั้น คนบริโภคสื่อก็ต้องฉลาดบริโภคด้วย เรื่องการรู้ทันสื่อนี้ต้องสั่งสอนอบรมกันตั้งแต่ยังเด็กๆ คงต้องสอนกันใหม่เลย เพราะคนไทยที่เชื่ออะไรง่ายๆคงลืมหลักกาลามสูตร ของพุทธศาสนากันไปแล้ว

การที่ประชาชนสามารถรู้ทันสื่อได้ แสดงว่าคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ฉะนั้นการสอนให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อได้ ย่อมเป็นการส่งเสริมให้มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (freedom of expression) ต่อๆไปการเซ็นเซอร์ข่าวสารก็มีความจำเป็นน้อยลง อีกทั้งการประนาม หรือบอยคอตต์ก็จะลดลงด้วย

คดีหมิ่นประมาทบนเว็บ

ปัจจุบัน คดีหมิ่นประมาทบนเว็บ (internet libel) โดยส่งอีเมล หรือโพสท์ข้อความบนเว็บสาธารณะ มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับหนึ่ง คิดว่าคงเป็นเพราะการกระทำผิดแบบนี้ทำได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก และได้ผลพอสมควร ผิดกับการหมิ่นประมาทในสมัยก่อน กว่าจะร่างบัตรสนเท่ห์ พิมพ์ดีด ตรวจแก้เอกสาร พับใส่ซอง ติดแสตมป์ จะมีเวลาคิดไตร่ตรองอยู่นานทีเดียว แต่บนเว็บแค่กดปุ่ม ก็ส่งไปในพริบตา แก้ไขหรือถอนไม่ทันแล้ว

เว็บก็กลายเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับระบายความอึดอัดของกลุ่มคนบางกลุ่มที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม คนหมิ่นได้ระบาย ถ้าคนถูกหมิ่นรับได้ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าจี้จุดสำคัญจนรับไม่ได้ ก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเป็นหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่า ประกาศด้วยวิธีอื่น( ตามมาตรา 328) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

บ้านเมืองเรายามนี้ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ไม่ต้องบอกว่ากลุ่มอะไร ลองอ่านข้อมูลที่ถล่มกัน ก็พอจะเข้าใจได้ว่าใส่ร้ายป้ายสีกันจนเลอะเทอะ ถ้าเป็นการปล่อยข่าวลวงให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ก็จะมีความผิดตามมาตรา 14 ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ

สื่อลามกบนเว็บ

ข้อมูลในปี 2004-2005 พบว่า มีภาพลามกแพร่ในอินเตอร์เน็ตราว 420 ล้านภาพ ธุรกิจภาพลามกคิดเป็นเงินราว 12 พันล้านเหรียญ ในจำนวนนี้เป็นสื่อทางอินเตอร์เน็ต อยู่ 2.5 พันล้านเหรียญ ในบรรดาผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดประมาณพันล้านคน มี 2 ใน 5 คนเคยเข้าเยี่ยมชมเว็บลามก (ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมากกว่านี้)

ในโลกนี้ มีหลายประเทศไม่ถือว่าภาพลามกเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ธุรกิจขายความลามกจึงยังไม่เป็นธุรกิจสีดำ แต่เป็นธุรกิจสีเทา หลักเกณฑ์ที่ตัดสินว่าลามกหรือไม่ในแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่แบ่งภาพลามกเป็น 2 แบบคือ
· แบบที่ผิดกฎหมาย (illegal pornography) ได้แก่ภาพที่แสดงความอัปรีย์ต่ำทราม (obscenity) กับภาพละเมิดทางเพศต่อเด็ก (child pornography) และ
· แบบที่ไม่ผิดกฎหมาย (legal pornography) ได้แก่ ภาพโป๊เปลือยต่างๆ หรือภาพที่ลดดีกรีความลามกโดยลบบางส่วนออก

สำหรับประเทศไทยเรา การครอบครองภาพลามกไม่เป็นความผิด แต่การเผยแพร่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 14 (4) และ (5) พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฉะนั้น เมื่อพบการเผยแพร่ภาพลามกทางอินเตอร์เน็ตมาจากต่างประเทศซึ่งไม่ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย ประเทศเราจึงไม่อาจดำเนินคดีได้ เนื่องจากกฎหมายขัดกัน กระทรวงไอซีทีซึ่งกำกับดูแลจึงทำได้เพียงปิดกั้นเว็บไซต์ฯนั้น แต่หากพบว่าการเผยแพร่ภาพลามกมีต้นตออยู่ในประเทศไทย ก็สามารถจับกุมดำเนินคดีได้
น่าสังเกตว่า เว็บไซต์เผยแพร่เหล่านี้ปิดเปิดง่ายและย้ายบ่อย แต่เดิมโทษค่อนข้างน้อย ซึ่งโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์สูงกว่า แต่ก็ยังไม่มีการฟ้องคดีในมาตรานี้

ความจริง ตัวสื่อลามกเองไม่ร้าย เท่าผลข้างเคียงที่เกิด ธุรกิจสีเทานี้นอกจากจะทำให้ศีลธรรมในสังคมเสื่อมทรามแล้ว ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางเพศอื่นๆอีกมากมาย และกระทบต่อเด็กและเยาวชนโดยตรง จึงเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานของตนให้ใกล้ชิด อย่ามัวแต่หลงภาคภูมิใจว่าบุตรหลานของตนใช้คอมพิวเตอร์เก่ง

ในสังคมออนไลน์นั้น มีคนร้ายปะปนแอบแฝงอยู่ ไม่ว่าจะมาในรูป chatroom , internet messenger (IM) , เกมออนไลน์ หรืออีเมลต่างๆ หากปล่อยให้เด็ก เยาวชน เข้าผจญภัยในโลกอินเตอร์เน็ตเอง อาจถูกหลอกลวง หรือถูกฆาตกรรมดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะพวกตุ๋ยเด็ก (paedophile) นิยมหลอกลวงหาเหยื่อโดยใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตนี่แหละ

คดีฉ้อโกงบนเว็บ

ธุรกิจออนไลน์ก็เช่นเดียวกับการทำธุรกิจทั่วไป แต่เป็นการทำผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันเพราะไม่เห็นหน้าค่าตากัน กรณีที่ซื้อขายโดยตรง มักมีการฉ้อโกงหลอกลวงกันบ้างในขั้นตอนชำระเงิน และการส่งมอบสินค้า ในกรณีซื้อขายข้ามประเทศ ถ้าเกิดการฉ้อโกงกัน การดำเนินคดีจะยุ่งยากมาก ฉะนั้นจึงควรซื้อขายผ่านองค์กรที่น่าเชื่อถือ

การฉ้อโกงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2549 คือลูกค้าธนาคารออนไลน์หลายราย ถูกหลอกทางอีเมลโดยวิธี phishing หลอกให้เข้าไปป้อนข้อมูลในเว็บไซต์ปลอม ทำให้ข้อมูลส่วนตัวทั้งรหัสผู้ใช้กับรหัสผ่าน ถูกแอบนำไปใช้ ในการทำรายการโอนเงินออกไปหมด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องระวังการทำรายการทางการเงินต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต ต้องมั่นใจว่าข้อมูลสำคัญทั้งรหัสผู้ใช้ (username) กับรหัสผ่าน (password) ไม่ถูกดักรับจากคนร้าย แม้จะมีคนแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโทรมาขอตรวจสอบข้อมูล one-time password ก็อย่าหลงเชื่อ เราควรเป็นผู้โทรกลับไปหาธนาคารเอง

ธุรกรรมเกี่ยวกับเงินอื่นๆที่กระทำทางอินเตอร์เน็ต เช่น ซื้อขายหุ้น (e-trading) ก็ควรระวังเพราะอาจถูกดักรับรหัสผู้ใช้กับรหัสผ่านได้ ปีที่แล้วเคยมีคดีฉ้อโกงโบรกเกอร์ในต่างประเทศโดยคนร้ายต่างชาติจากประเทศไทย

การฉ้อโกงอีกแบบหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงเพราะคนไทยเราโดนตุ๋นกันมาก คือ แก๊งไนจีเรีย 419 (419 fraud) ใช้วิธีส่งอีเมลแต่งเรื่องให้เหยื่อหลงอ่านจนเกิดความโลภ เช่นหลอกว่าถูกรางวัล (lottery scam) แล้วหลอกให้เหยื่อโอนเงินค่าธรรมเนียมทีละน้อยๆ ก่อนที่จะรับเงินรางวัลก้อนโต บางทีเรียกว่าการฉ้อโกงแบบ advance fee fraud เรื่องที่แต่งให้เราอ่านมีหลายรูปแบบ อ่านเผินๆแล้วโลภก็จะหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อได้ เช่นได้รับเงินคอรัปชั่นมาต้องการโอนเงินออกนอกประเทศ ได้รับมรดกมาแต่ใกล้ตายแล้วอยากบริจาค เป็นต้น

คดีอื่นๆ บนเว็บ

การกระทำผิดโดยใช้เว็บไซต์มีหลายรูปแบบ การหลอกลวงที่พบ ได้แก่การเปิดเว็บเพื่อให้คนต่างประเทศรับจองโรงแรมในไทย เปิดเว็บการกุศลรับบริจาคเงิน เปิดเว็บให้บริการจัดหาคู่แต่งงาน เป็นต้น พวกนี้จะหลอกให้เหยื่อชำระเงินแต่ไม่มีให้บริการจริงตามนั้น

นอกจากนี้ยังมีการลักลอบขายสินค้าหรือบริการที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม เช่นขายยาเสพติด ยาที่ต้องได้รับอนุญาต ขายอาวุธ วัตถุยั่วยุทางเพศ สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ขายบริการทางเพศ การพนัน ฯลฯ

อาชญากรรมต่อคอมพิวเตอร์

คดีที่กล่าวมาในหัวข้อก่อนนี้เป็นการกระทำผิดคดีอาญาแบบดั้งเดิมซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ในหัวข้อนี้จะเป็นการกระทำผิดต่อคอมพิวเตอร์โดยตรง ซึ่งก่อนประกาศ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 นั้น การกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด

ในประเทศไทย ความผิดประเภทเจาะระบบเข้าไปทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนที่พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ บังคับใช้ มีอยู่พอสมควร ที่ปรากฏเป็นข่าวดังก็เห็นจะเป็นแฮกเกอร์เจาะระบบบัตรเติมเงินของบริษัทมือถือซึ่งโดนเจาะไป 2 ราย นอกนั้นเป็นข่าวเล็กๆบ้างหรือไม่เป็นข่าวเลย เช่นแอบลบข้อมูล แล้วเรียกค่าไถ่ข้อมูล, แอบขโมยข้อมูลอีเมล, ลักลอบใช้อีเมลของผู้อื่น

โดยปกติ คดีที่เกิดแก่ธนาคารและสถาบันการเงิน ผู้เสียหายมักจะไม่แจ้งความ เนื่องจากเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ชื่อเสียงและทำให้ลูกค้าไม่เชื่อมั่น

การขโมยโดเมนเนมก็มีพบอยู่หลายราย สร้างความเสียหายต่อธุรกิจพอสมควร และเมื่อเร็วๆนี้ เว็บไซต์ของกระทรวงไอซีทีโดนแฮกเปลี่ยนหน้าเว็บหลัก (web defacement) หลังประกาศ พรบ.คอมฯ วันเดียว (19 ก.ค.2550) นับว่าท้าทายพอสมควร แต่ความจริงก็ไม่ใช่แปลกอะไร หน้าเว็บตำรวจและเว็บอื่นก็เคยโดนมาแล้วหลายครั้ง

ปกติเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนั้นมักจะมีระบบความปลอดภัยอยู่เพียบพร้อม แต่เหตุใดแฮกเกอร์จึงเจาะเข้าระบบได้ ในคดีที่ผ่านๆมา ข้อผิดพลาดเป็นช่องโหว่สำคัญที่พบ ก็คือ พนักงานเก่าหรือผู้ดูแลระบบคนเก่าที่ได้ลาออกไป และการเปิดช่องทางให้เชื่อมต่อระยะไกลโดยไม่ผ่านระบบความปลอดภัยขององค์กร

ภัยต่อระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรมิได้มีเพียงที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีภัยอื่นๆได้แก่ ไวรัส เวิร์ม สปายแวร์ สแปมเมล์ การโจมตีโดย DoS หรือ DDoS โดย botnet ฯลฯ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เข้าใจและตระหนักถึงความปลอดภัยของขัอมูล (information security awareness) นอกจากนี้ ผู้บริหารระบบไอทีขององค์กรจึงควรศึกษามาตรฐานสากลว่าด้วยความปลอดภัยของระบบไอทีเพื่อกำหนดขั้นตอนความปลอดภัย (security procedure) ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ จะต้องปฏิบัติตาม มาตรา 26 พรบ.คอมฯ และตามประกาศของกระทรวงไอซีที เช่น การเก็บ log ต่างๆ ด้วย

บทสรุป

แม้อินเตอร์เน็ตจะไม่ได้ทำร้ายบุคคลโดยตรง แต่ผลการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ไม่ตระหนักถึงภัย ก็อาจนำความเสียหายมาสู่ตนได้ และแม้ว่า พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 จะมีผลบังคับใช้ แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า ภัยทางอินเตอร์เน็ตจะลดลง ในทางตรงข้าม เมื่อจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ปริมาณคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย การที่จะลดภัยทางอินเตอร์เน็ตลงได้ จึงต้องให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้อินเตอร์เน็ต

ผู้เขียนสังเกตว่า การประกาศใช้ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 น่าจะมีผลให้คนที่คิดจะทำผิดต่อคอมพิวเตอร์ มีความระวังมากขึ้นเพราะเกรงกลัวความผิด เนื่องจากมีโทษรุนแรง อย่างไรก็ดี จนกระทั่งบัดนี้ (ขณะเขียนบทความนี้) การฟ้องคดีความผิดตาม พรบ.ใหม่นี้ มีเพียงไม่กี่คดี



@@@@@@@@@@@@@@@@@

จัดระเบียบสังคมด้วยกล้องและระบบโทรทัศน์วงจรปิด

จัดระเบียบสังคมด้วยกล้องและระบบโทรทัศน์วงจรปิด

กรกฎาคม 2545

กล่าวนำ

ชั่วระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มีข่าวคราวในสื่อมวลชนเกี่ยวกับกล้องอยู่หลายเรื่อง เช่น
· กล้องตาทิพย์มองทะลุเสื้อผ้าได้ กล้องแอบถ่ายในห้องน้ำผู้หญิง ในห้องลองเสื้อในห้างดัง แอบถ่ายในโรงแรมม่านรูด ลานจอดรถ
· กล้องดักถ่ายภาพของนักข่าวไอทีวี กรณีส่วยทางด่วน แอบถ่ายบ่อนพนัน แอบถ่ายค่าเดินเอกสารของหน่วยราชการหน่วยไหนจำไม่ได้ ที่มีพิธีรีตองพวกเอกสารมากมายจนน่ารำคาญ
· กล้องจับภาพของห้าง กรณีหญิงแอบกินซาลาเปา
· กล้องแอบถ่ายนักการเมืองอินเดีย รับเงินสินบนจากบริษัทค้าอาวุธ
· กล้องแอบถ่ายข้าราชการไทยจำไม่ได้ว่าหน่วยใด รับเงินอะไรก็ไม่รู้ ออกอากาศทาง ไอทีวี
· กล้องบันทึกภาพคุณหมอ (ที่โดนข้อหาฆ่าภรรยาตัวเอง) เดินคู่กันหน้าห้าง ก่อนที่ภรรยาจะหายตัวไป
· ร้านขายทองจับภาพขณะที่คนร้ายต่อสู้กับตำรวจ
· ฯลฯ
เห็นหรือยังว่า กล้องถ่ายวิดิโอมีอานุภาพขนาดไหน ถ้าไม่ดักถ่าย คนทั้งประเทศจะมีบุญวาสนาได้เห็นแบ๊งก์ยี่สิบปลิวว่อนบนทางด่วนได้อย่างไร และถ้าไม่แอบถ่ายให้เห็นว่ากำลังแทงพนันกัน ใครจะไปเชื่อว่าว่ามีบ่อนอยู่กลางเมือง และ ฯลฯ ถ้าไม่มีภาพถ่ายวิดิโอมายืนยันกันจะจะ อย่างนี้ หัวหน้าหน่วยรับผิดชอบก็จะต้องเฉไฉ ปฏิเสธกันตามระเบียบ แล้วสังคมเราก็จะเป็นสังคมไร้ระเบียบ เป็นสังคม double standard
กล้องถ่ายวิดิโอนั้น นอกจากจะใช้งานในด้านบันเทิง หรือด้านสัปดนแล้ว เอามาใช้ในทางสร้างสรรค์ก็ได้ ใช้วิธี “ฟ้องด้วยภาพ” อย่างนี้นี่แหละคือประโยชน์ของกล้องถ่ายวิดิโอที่เหมาะกับสังคมไทย เลิกโต้เถียง บ่ายเบี่ยง แกล้งโง่ แกล้งเซ่อกันเสียที เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล เห็นหรือยัง นี่แหละคือเครื่องมืออันทรงพลังที่สามารถนำไปใช้ในการจัดระเบียบสังคม
ก่อนที่จะได้ภาพมาฟ้องกันได้ ต้องมีกล้องวิดิโอเสียก่อน จากนั้นก็ต้องมีการบันทึกภาพ บางสภาวะ เราถือกล้องถ่ายได้ตามใจเลย แต่บางสถานที่ เจ้าของเขาจะสงวนสิทธิ์ไม่ยอมให้ถ่าย เว้นแต่จะได้รับอนุญาต และยังมีบางสถานที่ที่เจ้าของไม่ยอมให้ถ่ายเด็ดขาด ถ้าฝ่าฝืน อาจ...?..ได้ สถานที่แบบนี้ เราต้องใช้เทคนิคฝีมือในการแอบถ่าย จับภาพสำคัญ ๆ โดยซ่อนกล้องไว้ แล้วต่อสัญญาณมาเข้าเครื่องบันทึกไว้ เทคนิคอย่างนี้ต้องใช้มืออาชีพ ก็รู้สึกว่าเทคนิคแอบถ่ายที่ว่านี้ เห็นมีออกอากาศอยู่ช่องเดียว น่าสงสัยจริงๆว่าทำไมโทรทัศน์ 6 ช่องที่เราดูฟรีกันทุกวัน มีทำเป็นอยู่ช่องเดียวได้ยังไง ช่องอื่นตั้งมาก่อนเขาไม่คิดทำหรือว่าทำไม่เป็น มันน่าแปลก!!
ปกติ สถานที่สาธารณะทั่วไป เจ้าของสามารถติดตั้งกล้องไว้หลายๆแห่ง โดยทำเป็นระบบโทรทัศน์วงจรปิด บันทึกภาพไว้เพื่อประโยชน์ของตนตามที่ต้องการ

โทรทัศน์วงจรปิดคืออะไร

โทรทัศน์วงจรปิด ภาษาอังกฤษเรียกชื่อว่า Closed Circuit Television ย่อว่า CCTV เป็นระบบที่เอากล้องไปติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการถ่ายภาพไว้ แล้วต่อสายนำภาพเหล่านั้นมาให้เรามองเห็นได้อย่างสะดวก และส่วนมากก็บันทึกภาพนั้นๆไว้ด้วย สำหรับคำว่า “ วงจรปิด ” หมายถึง การที่ต่อสายเชื่อมระหว่างกล้องและโทรทัศน์เป็นแบบต่อกันตรงๆ เลย
ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ที่ว่านี้ก็มิได้เป็นระบบแปลกใหม่ทันสมัยเท่าไรนัก แต่ที่มาเป็นข่าวกันอยู่บ่อยขึ้นก็เพราะว่า เดี๋ยวนี้กล้องมีราคาถูกลง ขนาดเล็กลง จะใช้เล่นหรือใช้งานก็สะดวกกว่าเดิม อีกหน่อยเอามาใส่ในโทรศัพท์มือถือหรือใส่นาฬิกา ปากกาให้เราใช้พกพาได้ คงทำให้สังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของเรา มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง
เพื่อเป็นพื้นฐาน ผู้เขียนได้แยกอธิบายส่วนประกอบต่างๆ ในระบบโทรทัศน์วงจรปิดอย่างง่ายๆไว้ในบทความนี้

ประโยชน์ทั่วไปของระบบโทรทัศน์วงจรปิด

ประโยชน์ของระบบโทรทัศน์วงจรปิด มีมากมายมหาศาล เขียนตัวอย่างใช้งานได้เป็นร้อยๆ ตัวอย่าง จะลองยกตัวอย่างมาให้เห็นพอสังเขป ได้แก่
· เฝ้าดูการจราจรบนทางแยก , สะพาน , ทางด่วน ฯลฯ
· บันทึกภาพในเตาอบเพื่อวิเคราะห์สาเหตุบางอย่างในเตา
· ถ่ายทอดภาพการแข่งขันกีฬาออกมานอกสนาม
· ติดกล้องไว้ท้ายรถบางรุ่นเพื่อสะดวกในการถอยรถ
· ติดไว้ในลิฟท์เพื่อป้องกันเหตุร้าย
· ถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่าซาฟารีโดยติดกล้องไว้บนเฮลิคอปเตอร์วิทยุบังคับ
· ถ่ายภาพทางอากาศโดยติดกล้องบนบอลลูน
· ควบคุมการทำงานใน บริษัท หรือ โรงงาน
· รักษาความปลอดภัยสถานที่ต่างๆ
· ถ่ายภาพหมีแพนด้าหรือลิงอูรังอูตังคลอดลูกในสวนสัตว์
· สำรวจปริมาณการไหลของจราจรเพื่อเป็นข้อมูลในการก่อสร้างเส้นทาง
· ศึกษาวิจัยการมองเห็นแสงอินฟราเรดของปลาเงินปลาทอง
· ฯลฯ

ตัวอย่างการใช้มีอีกมากมาย แล้วแต่ความคิดในการสร้างสรรค์และจินตนาการของผู้ใช้ แต่ในที่นี้ จะขอกล่าวเฉพาะด้าน เฝ้าระวัง รักษาความปลอดภัยและควบคุมอาชญากรรม ข้อดีของระบบโทรทัศน์วงจรปิด เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป เช่น
· ในงานรักษาความปลอดภัย ช่วยให้ประหยัด และมีประสิทธิผลดีกว่า
· เฝ้าระวังได้ต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง สะดวกในการปฏิบัติงาน
· ช่วยให้สภาพแวดล้อมมีความปลอดภัย ป้องกันผู้บุกรุก ป้องกันอุบัติเหตุหรือ ไฟไหม้
· ป้องปรามโจรภัย เพราะเมื่อโจรมองเห็นกล้อง ก็มักจะเปลี่ยนใจไปที่อื่น
· เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน เพราะผู้ควบคุมสามารถเห็นภาพรวมได้ทั้งหมด
· ช่วยเพิ่มผลิตภาพ ป้องกันการทุจริต อู้งาน ฯลฯ

ทุกวันนี้ แทบจะเรียกได้ว่า ประเทศอังกฤษ เป็นผู้นำในการใช้ประโยชน์ของระบบโทรทัศน์วงจรปิด ในด้านการเฝ้าระวัง และควบคุมอาชญากรรม ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการลงทุนในกิจการดังกล่าวประมาณ 150-300 ล้านปอนด์ มีการติดตั้งกล้องราวๆ มากกว่า 3 แสนกล้อง (มีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15 - 20 ต่อปี) ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เช่น ศูนย์การค้า ย่านพักอาศัย อาคารที่จอดรถ ตลอดจนย่านธุรกิจ กับสถานที่สาธารณะที่สำคัญมากมาย ที่นี่เขาใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐเพื่อควบคุมอาชญากรรม และจัดระเบียบสังคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมของประเทศ มีความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายสูง
สำหรับสถานที่เอกชน ก็ได้นำระบบโทรทัศน์วงจรปิดมากขึ้นๆ เรื่อยๆ ทั้งย่านคนรวยและย่านคนจนพักอาศัย เข้าใจว่าทีแรก ตั้งใจติดกล้องไว้เพื่อป้องปรามขโมย การดักทำร้าย และโจรกรรมรถยนต์ ปรากฏว่าได้ผลดี ต่อมา ก็เลยขยายผลนำมาใช้ในการจัดระเบียบสังคมด้วย เช่นรณรงค์ พฤติกรรมการทิ้งขยะไม่เลือกที่ ละเมิดกฏจราจร ปัสสาวะในที่สาธารณะ การทะเลาะวิวาท เมาสุรา การทำลายสิ่งของสาธารณะ ฯลฯ

ลดอาชญากรรมด้วยโทรทัศน์วงจรปิด

คงจำกันได้ว่า เมื่อ 2-3 ปีก่อน มีบทความหนึ่งชื่อ “ จดหมายถึงนาย ” ซึ่งโด่งดังมาก ในเว็บ meechaithailand.com เสนอมุมมองของนาย “ ยามวิกาล ” เกี่ยวกับสังคมไทย ขอคัดลงมาให้อ่านอีกครั้ง

“ จดหมายถึงนาย ……
ภาพรวมของประเทศไทย: ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่ค่อนข้างยากจน สังคมไทยโดยพื้นฐาน มีลักษณะไร้ระเบียบกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นอุปนิสัยประจำตัวของคนชาตินี้ …….
……………..
ความไร้ระเบียบทางศีลธรรม-จริยธรรม ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ แต่มีการค้าประเวณี และยาเสพติด อย่างเปิดเผยทั่วไป มีการฆาตกรรมกันมาก การฉ้อราษฎร์บังหลวงมีอยู่ทั่วหัวระแหง ไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียน มีครูโกงเด็กนักเรียนตัวเล็ก ๆ ในวัดซึ่งพระโกงชาวบ้าน หรือราชการหลอกพระ และพุทธศาสนิกชน หรือที่สื่อมวลชนทำกับเยาวชน ตำรวจเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสังคม
……………. ”

อ่านแล้ว อย่าเพิ่งท้อแท้สิ้นหวัง ไม่ต้องไปเถียง และไม่ต้องไปยอมรับ แม้ปัจจุบัน บ้านเมืองของเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็ตามที เพราะต่อๆไป เราก็จะมีระเบียบกฏเกณฑ์กันมากขึ้น เนื่องจากเป็นโชคของบ้านเมืองที่เราได้ ผู้นำที่เข้มแข็งและเสียสละ มาช่วยจัดระเบียบสังคมแล้ว ต่อไปสังคมไทยก็จะเป็น double standard น้อยลงๆ ถ้าไม่เชื่อ ลองอ่านบทความ “ คำตอบจากนาย ” ซึ่งเป็นภาคต่อมาของ“ จดหมายถึงนาย ” ขอคัดมาให้อ่านอีกที และช่วยกันภาวนาให้ท่านผู้นำท่านนี้เป็นตัวจริง และเป็นของแท้ ได้โอกาสอยู่ทำงานนี้นานๆ จนสำเร็จ

“ คำตอบจากนาย ……
เราชาวต่างประเทศ พึงระวังย่างก้าวของเรา 5 ประการ คือ (1) ระวังอย่าให้เมืองไทยมีผู้นำที่เข้มแข็งและเสียสละ (2) เราควรเร่งให้คนไทยเข้าใจผิดว่าปัญหาเศรษฐกิจได้รับการแก้ไขแล้ว (3) อย่าให้คนไทยสงสัยในผลของโลกาภิวัฒน์ (4) ระวังอย่าวิพากย์วิจารณ์ระบบราชการไทย ปล่อยให้เป็นเครื่องกัดกร่อนสังคมไทยไปเรื่อยๆ และ (5) พึงทดสอบความไม่อนาทรร้อนใจของผู้นำและคนไทยทั่วๆ ไป เกี่ยวกับเจตนาแอบแฝงของเราชาวต่างชาติ
……………. ”

เพราะว่า ภาพๆ หนึ่ง มีความหมาย รายละเอียดที่สามารถอธิบายได้นับพันคำ ( A picture is worth a thousand words.) เมื่อภาพถูกบันทึกไว้ย่อมใช้เป็นหลักฐานได้ ลองพิจารณาตัวอย่างปัญหาต่อไปนี้
1. มีการก่ออาชญากรรมในสถานที่สาธารณะและกึ่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้น เช่นการก่อวินาศกรรมห้างร้าน สถานที่ราชการ, การโจรกรรมในที่จอดรถ, การจี้ ปล้นร้านค้า ธนาคาร, เหตุทะเลาะวิวาทในสถานบันเทิง เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุแล้วไม่มีประจักษ์พยานทำให้เพิ่มภาระการสืบสวนสอบสวน
สมมติ ถ้ามีการบันทึกภาพไว้ ภาระการสอบสวนก็จะน้อยลง ไม่ต้องสอบพยานหลายปาก
2. มีการกระทำผิดบางอย่างเกิดขึ้น แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอเพื่อป้องปรามหรือ ตรวจตราอย่างเข้มงวด ทำให้การบังคับใช้กฏหมายไม่เป็นผล เช่น การฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง การแซงในที่คับขัน
สมมติ ถ้าระดมเจ้าหน้าที่มาคอยนั่งเฝ้าแต่ละจุด ทุกๆจุด วันหนึ่งๆ ก็สิ้นเปลืองเกินเหตุ แต่ถ้าใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดช่วยตรวจจับ หรือโดยหวังผลเพื่อเป็นการป้องปราม ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดกำลังเจ้าหน้าที่
3. การเปิดประเทศให้เป็นศูนย์การท่องเที่ยว ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งซ่องสุมอาชญากร และคนร้ายข้ามชาติ มีโอกาสที่จะก่ออาชญากรรมหรือในอนาคตอาจจะนำไปสู่การก่อการร้ายได้ อย่างไรก็ดี ยังมีปัญหาเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอในการเฝ้าระวังสถานที่สาธารณะและกึ่งสาธารณะ
สมมติ ถ้าใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดคอยเฝ้าระวัง ร่วมด้วย ก็จะช่วยประหยัดกำลังเจ้าหน้าที่
4. คดีส่วนใหญ่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ยาก และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาล แต่ประจักษ์พยานกลับคำให้การได้ ถ้าหากถูกอิทธิพลครอบงำ
สมมติ ถ้ามีการบันทึกภาพไว้ พยานหลักฐานทางคดีเช่นนี้ เปลี่ยนแปลงได้ยาก ไม่เหมือนพยานบุคคล ซึ่งต้องการการคุ้มครอง และบางครั้งกลับคำให้การเพราะกลัวอิทธิพล หรือกลัวเงิน (กลัวได้น้อยหรือกลัวไม่ได้?) นอกจากนี้ ยังตัดปัญหาการจับแพะ หรือปั้นพยานเท็จ
5. ในวงการรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ถ้าลองไปถามเจ้าหน้าที่ รปภ.หรือผู้จัดการฝ่าย รปภ.ว่าอยากได้เครื่องมืออะไรไว้ใช้งาน รปภ. เราจะได้คำตอบเดียวกันคือ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (ไม่ใช่ปืน วิทยุรับส่ง รถจักรยานยนต์ ) เหตุผล ก็คือ ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ช่วยให้สามารถทำงานสะดวก มองเห็นภาพรวมของสถานการณ์จากห้องควบคุม สภาพแวดล้อมปลอดภัย ตรวจตราได้ทั่วถึง ป้องกันเหตุไฟไหม้และภัยอื่นๆ มีประสิทธิภาพในการบริหาร ลดการจ้างแรงงานยาม ฯลฯ
สมมติ ถ้าเป็นสถานที่ที่มีโอกาสเกิดอาชญากรรม แล้วไม่ใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดคอยเฝ้าระวัง จะต้องจัดกำลังเจ้าหน้าที่ไปนั่งเฝ้าแบบเฝ้าหน้าร้านทองสักกี่คน จึงจะพอ
6. เรื่อง รปภ.อีกที คดีทะเลาะวิวาทในสถานบันเทิง เกิดอยู่บ่อยๆ เมื่อเกิดเหตุขึ้นไม่รู้ใครเป็นใคร ทุกคนว่าตัวเองถูกทั้งนั้น นอกจากเหตุชุลมุนจะเป็นความยากในการสอบสวนแล้ว ยิ่งบางคดีมีผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ออกมาให้สัมภาษณ์ (แถมถือหาง) ฝ่ายตนด้วย ยิ่งไปกันใหญ่ ไปๆมาๆ ก็จะเลยเถิดให้กลายเป็นประเด็นการเมือง กลายเป็นศึกศักดิ์ศรีสถาบัน
สมมติ ถ้ามีระเบียบให้ รปภ.ในสถานบันเทิงบางประเภทมีการบันทึกภาพวิดิโอไว้ การโต้เถียง ขัดแย้ง ก็จะน้อยลง เพราะภาพมันจะฟ้องตัวเองได้ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ก็ไม่กล้าให้สัมภาษณ์ (ตามที่ลูกน้องมาฟ้อง)

ประสพการณ์ของระบบโทรทัศน์วงจรปิดในคดีต่างๆ

คดีลักทรัพย์ในห้าง เกิดขึ้นบ่อยมาก เกิดทุกประเทศ ถ้ามีกล้องคอยดักจับภาพคนขโมย แทบทุกรายจะยอมจำนน รับสารภาพ ไม่กล้าโต้เถียง เมื่อเห็นภาพของตัวเองกำลังขโมย จะเห็นว่า กรณีอย่างนี้ ภาพวิดิโอและของที่ขโมยใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้คดีจบลงเร็ว
พยานหลักฐานที่ชัดเจนอย่างภาพวิดิโอนี้ เป็นผลดีต่อทั้งฝ่ายลูกค้า และฝ่ายห้าง เพราะสามารถเชิญมาดูภาพวิดิโอได้ เป็นวิธีการที่นุ่มนวล ละมุนละม่อม ช่วยมิให้ต้องโต้เถียงกันในที่สาธารณะ ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะช่วยคนที่ขโมยของไม่ให้อับอายต่อผู้พบเห็น สำหรับฝ่ายห้างก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกว่าจะส่งไปให้ตำรวจดำเนินคดี หรือว่ากล่าวตักเตือน อบรมสั่งสอน ภาพพจน์ของห้างนั้นก็จะไม่เสียหาย เพราะสังคมอาจเห็นว่าห้างไม่มีมนุษยธรรม ในกรณีที่คนขโมยเป็นคนที่น่าสงสารขโมยเพื่อประทังชีวิตตนและครอบครัว
ความจริง ภาพวิดิโอที่บันทึกไว้ไม่เพียงแต่จะแสดงภาพของอาชญากรเท่านั้น แต่ยังบันทึกสภาพเหตุการณ์ ณ เวลาที่เกิดเหตุด้วย เราสามารถย้อนกลับมาเมื่อใดก็ได้ ดูกี่ครั้งก็ได้ ยิ่งกว่านั้น ภาพวิดิโอยังช่วยให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เกิดอารมณ์ และระลึก ทบทวนความจำของเหตการณ์ ได้
มีสถิติที่น่าสนใจของต่างประเทศ จากการสำรวจห้างร้านทั้งเล็กใหญ่ จำนวน 54,000 ร้าน พบว่า ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ช่วยลดการขโมยของในห้างลงไปถึงร้อยละ 90 คิดดูแล้ว ราคาของระบบโทรทัศน์วงจรปิด ก็นับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับมูลค่าสินค้าที่ถูกขโมยที่ลดลง
ในหลายประเทศ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเป็นเครื่องมือปราบและปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิผลมาก (effective tool for crime detection and deterence) ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการสืบสวน สอบสวน และเป็นแนวทางในการดำเนินคดี
ในด้านการจัดระเบียบจราจร ที่ประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย เขาติดตั้งกล้องตรวจจับคนขับรถเร็วไว้บนจุดสำคัญๆที่มักมีอุบัติเหตุ มีทั้งซ่อนไว้ ทั้งเปิดเผย วัตถุประสงค์มิใช่เพื่อจับกุมคนขับรถเร็ว แต่เพื่อปรับพฤติกรรมให้ขับรถช้าลงเพื่อลดอุบัติเหตุ ปรากฏว่า สถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุลดลงไปมาก แต่ก่อนเขาใช้กล้องแบบฟิล์มธรรมดา เกิดปัญหา คือพอฟิล์มหมด นักขับก็เหยียบกันสนั่น เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปใช้กล้องแบบดิจิตอล ให้ส่งภาพมาทางสายโทรศัพท์ ทำให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีได้ทันที ไม่ต้องรอล้างหรือใส่ฟิล์ม สถิติจากกล้องตรวจจับคนขับรถเร็ว ที่อังกฤษ ในปี 1996 ประมาณ 2.6 แสนคดี จากจำนวนกล้องทั้งหมดประมาณ 1500 กล้อง มีรายงานขั้นต้นบอกว่าสถิติคนตายและบาดเจ็บสาหัสเพราะอุบัติเหตุในบริเวณที่ติดตั้งกล้องไว้ลดลงไปราวร้อยละ 47 ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่ติดตั้งใช้งาน และรายงานเดียวกันนั้นยังบอกด้วยว่า คนขับรถส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปคือลดความเร็วลง นอกจากนี้ เงินค่าปรับที่ได้ก็มากเกินพอที่จะใช้จ่ายดูแลบำรุงรักษาระบบกล้องตรวจจับคนขับรถเร็ว
ในประเทศอังกฤษ ภาครัฐ (โดยตำรวจ) ได้นำระบบโทรทัศน์วงจรปิด มาใช้ติดตั้งเฝ้าระวังในที่สาธารณะหลายแห่ง โดยสามารถสอดส่าย ก้มเงย ซูมและถ่ายในที่มืดได้ แม้กระทั่งในย่านพักอาศัยและย่านโคมแดง (red light area) นอกจากนี้ ในภาคเอกชน ก็ได้มีการนำระบบโทรทัศน์วงจรปิดมาติดตั้งในที่สาธารณะ เพื่อเฝ้าระวังทรัพย์สินของตนด้วย เช่น ตู้โทรศัพท์ ตู้เอทีเอ็มกดเงิน ในรถเมล์ รถโดยสาร รถไฟ แท็กซี่ ทางเข้าออก ฯลฯ บางแห่ง บางกรณี ตำรวจก็แนะนำให้เหยื่อเคราะห์ร้าย เช่นเด็กรับใช้ ที่ถูกทารุณหรือโดนทุบตี (victims of domestic violence) ซ่อนกล้องเพื่อแอบถ่ายในบ้านพักอาศัยของตน
ความจริงแล้วทีแรก เขาตั้งใจเอาระบบโทรทัศน์วงจรปิดมาใช้ขู่ไล่ (deter) ขโมย โจร คนร้าย แต่ต่อมาได้ขยายผลไปใช้ปราบพฤติกรรมฝ่าฝืนระเบียบ (anti-social behavior) เช่น ทิ้งขยะไม่เลือกที่ (littering) ปัสสาวะในที่สาธารณะ ฝ่าฝืนกฏจราจร เมาสุราอาละวาด หลีกเลี่ยงไม่เสียค่าจอดรถ (evading meters in town parking lots) ฯลฯ
ผลที่ได้รับหลังจากติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด ก็คือ ที่เมืองหนึ่งในสก๊อตแลนด์ อาชญากรรมลดลงไป ร้อยละ 75 สำหรับบางเมือง อาชญากรรมในย่านอุตสาหกรรม ลดลงเล็กน้อย แต่อาชญากรรมในอาคารจอดรถลดลงถึงร้อยละ 90 ในรายงานบอกว่า ไม่เพียงแต่ประชาชนส่วนใหญ่จะชอบ เพราะไปไหนมาไหนได้ รู้สึกปลอดภัย แม้แต่คนร้ายก็ยังชอบ เพราะว่าตนสามารถอ้างพยานหลักฐานที่อยู่ของตนจากกล้องว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธ์
ความจริงแล้ว ระบบโทรทัศน์วงจรปิดช่วยป้องปราม (deter) อาชญากรรมประเภทที่ต้องรอโอกาส กระทำผิด (opportunistic crime) ฉะนั้น ถ้าเราปิดโอกาสที่จะกระทำผิดได้ง่ายๆเสียให้หมด จำนวนคนที่จะกลายเป็นอาชญากรก็จะลดลง
ทั้งๆที่มีข้อมูลสถิติและตรรกะ มากมายขนาดนี้ ก็ยังมีนักวิชาการหลายคนไม่เห็นด้วย เหตุผลก็คือ ข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ และการถ่ายภาพถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลด้วย นอกจากนี้ ยังเคยมีรายงานที่ดิสเครดิตว่ากล้องไร้ประสิทธิผลอีกด้วย คือที่ติดตั้งไว้ส่วนมากใช้งานไม่ได้ผล อาชญากรรมไม่ได้ลดลงจริง แต่ย้ายไปที่อื่น ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ก็คือ ย่านธุรกิจ ย่านคนมีเงิน มักจะมีระบบโทรทัศน์วงจรปิดติดตั้งเฝ้าระวัง แต่ย่านคนจน ย่านสลัม ไม่มี ก็เลยสรุปได้ว่า อาชญากรรมถูกผลักดันจากย่านคนเงินมากไปยังย่านคนเงินน้อย เขาเถียงอย่างนี้ คือ “เขาไม่เชื่อว่าถ้าคุณติดกล้องไว้ทั้งเมืองละก็ โจรจะเลิกประกอบอาชญากรรมแล้วไปหางานทำ ” แปลว่า โจรเลิกอาชีพจริงหรือย้ายที่ทำกิน กันแน่ ? แนวคิดนี้น่าสนใจเหมือนกัน เพราะปรากฏว่าบริษัทประกันยินดีลดเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 30 ถ้าเจ้าของบ้านยอมลงทุนติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด แปลว่า เจ้าของบ้านจ่ายเงินเพื่อให้โจรไปหากินไกลๆบ้าน ?

ความร่วมมือ

มีข้อมูลสถิติ มากมายชี้ให้เห็นว่า ตั้งกล้องไว้ที่ไหน อาชญากรรมลดลงที่นั่น ไม่มีใครโง่ทำผิดต่อหน้ากล้องให้ถูกบันทึกไว้ สรุปได้ว่า ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเป็นระบบที่ดีที่สุดเพื่อการป้องปราม และตรวจสอบ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ถ้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอาชญากรรม โดยแบ่งเบาภาระบางส่วน คือ แทนที่จะต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งหมด ก็หันไปใช้ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเป็นเครื่องทุ่นแรง ดังที่ได้เสนอไว้ข้างต้น การเกิดอาชญากรรมจะลดลง หรือเมื่อเกิดแล้วการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จะง่ายขึ้น
ถ้าจะจัดระเบียบสังคม ต้องใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือจัดระเบียบ และเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่สะอาด ปลอดเชื้อ และทรงประสิทธิภาพ แหลมคม ใช้ผ่าตัดสังคม อย่างได้ผล ถ้าเครื่องมือนี้ ยังสกปรกติดเชื้อ สังคมจะยิ่งเละเทะหนักขึ้นไปอีก
ขออย่าปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปัญหาสาเหตุสำคัญของปัญหาสังคม (อย่างที่นายยามวิกาลว่าไว้) เลย เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ จัดระเบียบสังคมให้น่าอยู่ เพราะถ้าขืนปล่อยให้ตำรวจทำอยู่ฝ่ายเดียว ก็จะปล่อยให้อยู่สังคมเดิมๆที่ไร้ระเบียบอย่างนี้แหละ แล้วอย่ามาบ่นให้ได้ยินกัน


***********************

ที่มาข้อมูล
http://www.cctv-information.co.uk
http://www.telegraph.co.uk/
http://www.privacyinternational.org/issues/cctv/cctv_faq.html

ค.อ.ส.ของอาจารย์ปุระชัย ฯ ไม่มีเสื่อม

ค.อ.ส.ของอาจารย์ปุระชัย ฯ ไม่มีเสื่อม

กรกฎาคม 2547

ในช่วงปี 2546-47 นี้ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีอาชญากรรมเพิ่มขึ้น สังคมเริ่มสนใจคดีจี้ชิงทรัพย์บนสะพานลอย จี้บนรถเมล์ ฯลฯ อาชญากรรมต่อชีวิตและทรัพย์สิน ประเภทลัก วิ่ง ชิง ปล้น ข่มขืน นี้ จัดเป็นอาชญากรรมพื้นฐาน ความจริงอาชญากรรมประเภทนี้ ก็เกิดขึ้นทุก ๆ วันอยู่แล้ว เพราะทำง่าย เปิดโอกาสนิดเดียวก็ทำได้ ถ้าหากคิดเป็นความเสียหายแล้วก็ไม่แพ้อาชญากรรมประเภทอื่น คิดเป็นจำนวนคดีก็มากกว่าอาชญากรรมประเภทอื่น ฉะนั้น จงอย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือดูถูกว่ากระจอก
ที่สำคัญก็คือ อาชญากรรมประเภทนี้เกิดขึ้นกับประชาชนระดับรากหญ้า และพวกที่ยังไม่พ้นยอดหญ้า ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คนมีกะตังค์ส่วนมากไม่ค่อยได้มีโอกาสได้เจอเคราะห์กรรมกับตัวเอง ก็เพราะว่าพี่ท่านนั่งรถเก๋งติดแอร์ ตั้งแต่ออกนอกบ้านจนกระทั่งกลับเข้าบ้าน ไม่ได้นั่งรถเมล์ ไม่ได้ขึ้นสะพานลอย ไม่ได้เดินตรอกซอกซอย ไม่ได้ซ้อนท้ายจักรยานยนต์รับจ้าง เหมือนชาวรากหญ้าทั้งหลาย
ยิ่งสถานการณ์ภาคใต้ มีตายแทบจะเป็นรายวัน ยิ่งต้องรีบเร่งจัดการ ชีวิตจะมีความหมายอะไร ถ้ามัวแต่หลบภัย หรือไปไหนมาไหนมีแต่หวาดระแวง

นโยบายรัฐบาลท่าน พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ฯ แถลงไว้เมื่อต้นปี 2544 ก็มีด้าน “ความปลอดภัยของประชาชน” ดังนี้
1. ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นมาตรการทั้งการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท พร้อมทั้งจัด ระบบป้องกันสาธารณภัยและอุบัติภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วถึงและทันท่วงที
2. สนับสนุนให้ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันอาชญากรรมและสาธารณภัยใน ชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง

แต่น่าเสียดายครับ รัฐบาลยังให้ความสำคัญเรื่องอื่น เช่น ปากท้อง กับสุขภาพ มาก่อนเรื่องความปลอดภัย ปัญหาชาติมีมาก พวกเราก็ต้องอดใจรอไปก่อน ท่านขอเวลา 4-5 ปีเพื่อจัดการกับตำรวจ

กำลังตำรวจมีน้อยไม่เพียงพอจริงหรือ?

ถามว่าทุกวันนี้ ตำรวจทำงานหรือเปล่า ต้องบอกว่าทำครับ แต่ประสิทธิภาพดีไหม หรือประชาชนพึงพอใจบริการแค่ไหน ก็ต้องทำโพลความรู้สึกของประชาชน อย่างที่ท่านนายกฯ เคยกล่าวในพิธีเปิดประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 1 เมื่อ 17 ก.ค.2546 ที่ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า

“ ……... ตำรวจเป็นเจ้าพนักงานยุติธรรมขั้นต้น ถ้าตำรวจไม่สามารถให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ในเบื้องต้น ต่อให้มีอัยการและผู้พิพากษาชั้นดีอย่างไร ในท้ายที่สุดก็ว่าไม่เป็นธรรมอยู่ดี...........ฉะนั้น ตำรวจจึงเป็นหน่วยงานที่ต้องปรับปรุงก่อนหน่วยงานอื่น แต่บังเอิญตำรวจมีจำนวนมากถึง 2 แสนกว่าคน จึงปรับปรุงไม่ค่อยได้ ต้องปรับปรุงที่ศาลก่อน ........เรื่องการบริหารจัดการเป็นเรื่องใหญ่กว่างบประมาณ ........
สิ่งที่แน่นอนอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องการวิจัย เป็นสิ่งที่ (ผม) อยากจะเห็นในทุกขั้นตอน วิจัยการทำงานของตำรวจ .......... ”

ในอดีต ผู้เขียนจำได้ว่าเคยได้ยินผู้บริหารตำรวจชอบพูดว่ากำลังตำรวจมีน้อย แต่เมื่อปีก่อน ท่านนายกฯ ยกตัวเลขสัดส่วนของจำนวนตำรวจไทยต่อประชากร อยู่ที่ราว 1 ต่อ 250
ตัวเลขสัดส่วนเฉลี่ยของตำรวจทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 400
ที่อินเดีย ตำรวจ 1 คน ดูแลประชาชน 750-800 คน
แต่มาเลเซีย ข้างบ้านเรา ตัวเลขสัดส่วน ประมาณ 1 คน ดูแลประชาชน 300 คน
จากตัวเลขเปรียบเทียบ แสดงว่าจำนวนตำรวจไทยน่าจะถือว่ากำลังพอดี ๆ ต้องบริหารจัดการเพื่อให้กำลังตำรวจส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ทำงานหลักที่ควรต้องทำ ต้องเกลี่ยกำลังจากส่วนที่เกินไปส่วนที่ขาด


เพิ่มประสิทธิภาพตำรวจด้วยเทคโนโลยี

น่าดีใจครับ ที่ได้ทราบว่า ขณะนี้รัฐบาลมีแผนจัดทำระบบโทรทัศน์วงจรปิด และระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางโทรศัพท์ 191 ในสามจังหวัดภาคใต้ที่มีปัญหา ถูกต้องแล้วครับ เพราะตำรวจต้องทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี ทุกวันนี้ ตำรวจไทยใช้เทคโนโลยีในกิจการตำรวจน้อยมาก

ประมาณ 15 ปีมาแล้ว นายตำรวจอาชีพท่านหนึ่งได้ริเริ่มเอาเทคโนโลยีมาช่วยการปฏิบัติงานตำรวจ เรียกชื่อว่า เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS) ท่านชี้แจงในการสัมภาษณ์ของกองบรรณาธิการวารสารเซมิคอนดัคเตอร์อิเล็คทรอนิคส์ ว่า
“ แนวความคิดนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ผมเป็นตำรวจ..... ถ้าเกิดเหตุ(ร้าย) (ประชาชน) เขาแจ้งมาว่า ขณะนี้กำลังเกิดเหตุ (มี)คนร้ายอยู่ที่บ้าน ...... ในความรู้สึกของตำรวจ อยากจะไปดู อยากจะไปแล้วเห็น (และจับ) คนร้าย ไม่อยากไปถึงแล้ว คนร้ายไปไหนก็ไม่รู้ มันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ”

แนวคิดของระบบ SOS ก็คือ ประชาชนที่เป็นสมาชิก สามารถแจ้งเหตุมายังตำรวจได้ทางวิทยุ และเมื่อศูนย์ได้รับแจ้งแล้วก็จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับเหตุนั้นๆให้แก่ตำรวจ ซึ่งก็เป็นข้อมูลให้ตำรวจทราบและสามารถเดินทางไปยังที่เกิดเหตุได้รวดเร็ว
นายตำรวจผู้ที่ผมกล่าวถึง ก็คือ ท่านนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคำสัมภาษณ์นั้น ท่านยังบอกด้วยว่า
“ เรื่องของ SOS นี่นะครับ เป็น project ที่ ผมรักมาก แต่เป็น project ที่ผมไม่มีกำไรเลย แต่............ ผมคิดว่า หนึ่งผมได้ (ตอบแทนคุณ) คืนให้กับตำรวจ สองผมได้ integrate ประสบการณ์ในชีวิตของผมมากมาย ..... ผมได้ทำอะไรบางอย่างให้ตำรวจ ”

สมกับที่ต่อมาท่านได้ประกาศต่อประชาชนไทยว่าจะ “ ทดแทนคุณแผ่นดิน และทำงานการเมืองด้วยหัวใจเสียสละ” สรุปว่า โครงการ SOS นี้ ทำให้ ท่านสุขใจ แต่กำไรไม่มี และโครงการนี้ ก็เจ๊งเรียบร้อยไปแล้ว

สามทฤษฎีที่ไม่มีเสื่อม

เชื่อไหมครับว่าท่านอาจารย์ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เสนอแนวคิดจัดระเบียบสังคมในหนังสือ “ การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม: หลัก ทฤษฎี และมาตรการ ” โดย “ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ” เข้าใจว่าคงเคยสอนที่สถาบันนิด้า มากว่า 20 ปีแล้ว สรุปทฤษฎีว่าด้วยการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม 3 ทฤษฎี ดังนี้
1. ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Approach) อาศัยวิธีการสายตรวจเป็นหลัก เน้นการปรากฎตัว การแต่งเครื่องแบบ ให้ชุมชนรู้สึกว่ามีตำรวจอยู่ทั่วไป ครอบคลุมทุกแห่งหน
2. ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ ( Community Relations Approach) อาศัยความร่วมมือภายในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันชึวิตทรัพย์สินของตนและผู้อื่น
3. ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม (Crime Control through Environmental Design) อาจารย์ปุระชัย เรียกย่อเป็นภาษาไทยว่า ทฤษฎี ค.อ.ส.

แม้เวลาจะผ่านมานานแล้ว แต่แนวคิดก็มิได้ล้าสมัยแต่อย่างใด สามารถนำมาปรับใช้ได้เสมอตามความเหมาะสม ทฤษฎีแรกต้องใช้กำลังตำรวจจำนวนมากเพื่อดูแลรับผิดชอบพื้นที่ ส่วนทฤษฎีที่สอง ต้องได้ประชาชนมาเป็นฝ่ายเราช่วยเป็นหูตาให้ แต่ถ้าประชาชนเป็นฝ่ายตรงข้าม ทฤษฎีนี้คงไปไม่รอด เราสังเกตดูอาการว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม ได้ดังนี้
­ ประชาชนจงเกลียดจงชัง อาชีพตำรวจไม่มีศักดิ์ศรี
­ ประชาชนให้ความร่วมมือน้อยลง ไม่ต้องหวังว่าตำรวจจะหาข่าวหรือเบาะแส ได้ง่าย
­ ประชาชนไม่เคารพยำเกรงตำรวจ อาจถึงขั้นทำร้าย
­ การบังคับใช้กฏหมายไม่เป็นผล
สำหรับทฤษฎีที่สาม คือ ทฤษฎี ค.อ.ส. ซึ่งอาจารย์ปุระชัยฯ ย่อมาจาก “ ควบคุมอาชญากรรมโดยสภาพแวดล้อม ” นั้นเดี๋ยวนี้ใช้คำภาษาอังกฤษว่า Crime Prevention Through Environmental Design ใช้คำย่อว่า CPTED (ออกเสียง เซ็ปเต็ด) ในที่นี้ ผู้เขียนขอเรียก ค.อ.ส. ตามอาจารย์ปุระชัยฯ ทฤษฎี ค.อ.ส. นี้เป็นการปรับใช้สภาพแวดล้อมในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์

ค.อ.ส.คัมแบ็ค

ตอนแรกที่เริ่มคิดทฤษฎี ค.อ.ส. นี้ใหม่ๆ ( 20 ปีมาแล้ว ) สมัยนั้น สภาพอาชญากรรมไม่ค่อยน่าหวาดกลัว ทฤษฎี ค.อ.ส.จึงหายเงียบไปพักหนึ่ง แต่อยู่ๆ ช่วงไม่กี่ปีนี้ กลับมาสนใจกันอีก ก็เพราะเหตุก่อการร้ายระบาดไปทั่วโลกนี่แหละครับ
สมัยนั้น นักอาชญวิทยาไม่ค่อยสนใจ โดยเฉพาะสถาปนิกหรือนักออกแบบ ยิ่งไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำ เพราะมัวแต่ห่วงความปลอดภัยเมื่ออาคารไฟไหม้ แผ่นดินไหว มากกว่าความปลอดภัยจากอาชญากรรม แต่เดี๋ยวนี้ หลายประเทศ (เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์)เริ่มรณรงค์ให้สถาปนิกออกแบบโดยคำนึงถึงภัยอาชญากรรมเพิ่มขึ้นมาอีกภัยหนึ่ง บางรัฐในสหรัฐอเมริกาหรือบางประเทศตราเป็นกฎหมายให้การออกแบบอาคาร สถานที่ ต้องผ่านเจ้าหน้าที่หรือคณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาชญากรรมด้วยก็มี
หัวใจสำคัญของ ค.อ.ส. คือปรับสภาพแวดล้อมและใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อมในการลดโอกาสการก่ออาชญากรรม และช่วยทำให้สภาพแวดล้อมดูปลอดภัยไม่น่ากลัว หลักการหรือกลยุทธ์ของ ค.อ.ส. มี 4 ข้อ ดังนี้
ก. เฝ้าระวังโดยธรรมชาติ (natural surveillance)
ข. ควบคุมการเข้าออกโดยธรรมชาติ (natural access control)
ค. แบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน (territorial reinforcement)
ง. บริหารจัดการ (maintenance & management)

กลยุทธ์ทั้งสี่ข้อนี้ ดูค่อนข้างซ้อนและคาบเกี่ยวกัน เพราะต่างอาศัยธรรมชาติของสภาพแวดล้อมมาเป็นประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรม จะเห็นว่า เป็นกลยุทธ์ที่แตกต่างจากระบบรักษาความปลอดภัยทั่วไป ซึ่งเน้นติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย กลอนล็อคปิดเปิดประตู ระบบโทรทัศน์วงจรปิด แต่ระบบรักษาความปลอดภัยของ ค.อ.ส.กลับเน้นใช้สภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ทำให้คนร้ายรู้สึกว่าเป็นเขตหวงห้าม และถูกเฝ้าระวังอยู่ จึงไม่อยากเสี่ยงกระทำผิด
สรุปก็คือ ค.อ.ส.เพิ่มการพึ่งพาความปลอดภัยโดยธรรมชาติ (natural security) และลดการพึ่งพาความปลอดภัยโดยอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ (electronic security)

ก. เฝ้าระวังโดยธรรมชาติ (natural surveillance)
หลักข้อนี้ใช้ความจริงที่ว่า คนร้ายไม่อยากให้คนมองเห็น ไม่ชอบให้ใครจำหน้าได้ ดังนั้นจึงต้องทำให้ พื้นที่นั้นมีการเฝ้าระวังโดยธรรมชาติ เช่น
­ ทำให้ดูโล่ง เอาสิ่งที่กำบังสายตาออกไป เพื่อให้คนทั่วไปสามารถมองเห็นผู้บุกรุกได้ง่าย
­ ทำหน้าต่าง ประตูให้หันออกไปทางถนน หรือที่จอดรถ
­ ปรับทางเท้าหรือถนน ทำเฉลียงประตูหน้าบ้าน
­ ติดไฟแสงสว่าง
­ ทำระเบียงหรือกำแพงให้โปร่งใส
­ กำจัดมุมอับ และที่ลับตาออกไป
­ จัดกิจกรรมเพื่อให้มีคนพลุกพล่านใกล้เคียงหรือในบริเวณที่ล่อแหลม เพื่อให้มีคนช่วยเฝ้าระวังมากขึ้น





ห้องคอมพิวเตอร์ซึ่งดูทึบ เมื่อเจาะหน้าต่างให้มองโล่งจะทำให้การเฝ้าระวังดีขึ้น




สรุปแล้ว หลักการเฝ้าระวัง ไม่ใช่เพื่อขับไล่ผู้บุกรุก (ความจริงเหมือนขับไล่) แต่เพื่อเฝ้าระวังให้ผู้บุกรุกอยู่ในสายตา

ข. ควบคุมการเข้าออกโดยธรรมชาติ (natural access control)วิธีควบคุมการเข้าออกได้แก่ การใช้ประตู รั้ว พุ่มไม้เตี้ยๆ คูน้ำ แนวต้นไม้ เพื่อกันให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปจากบริเวณนั้น ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย เรามักจะติดตั้งกลอน เหล็กดัด ฯลฯ แต่ถ้าเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือกึ่งสาธารณะ การควบคุมเข้าออกต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เช่น จัดทางเข้า ทางออก ทำรั้ว จัดทิวทัศน์ (landscaping) ติดตั้งไฟแสงสว่าง หรือแค่ตั้งโต๊ะเป็นที่ต้อนรับ หรือตรวจตราการเข้าออกก็ได้










แนวพุ่มไม้ป้องกันคนปีนขึ้นหลังคาได้สะดวก

เนื่องจากการควบคุมเข้าออกของที่สาธารณะค่อนข้างยากกว่าปกติ แต่เราสามารถใช้วิธีควบคุมโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า “ สิ่งกีดขวางทางจิตวิทยา ” (psychological barrier) เช่น ติดป้าย ทำเครื่องหมาย ตีเส้นบนพื้น ไม้กั้น เพื่อประกาศให้ทราบว่า พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เฉพาะ
หลักของสิ่งกีดขวางทางจิตวิทยา ก็คือ ถ้าพื้นที่ดูแปลกไปจากธรรมดา หรือเข้าออกยากกว่าธรรมดา คนร้ายก็จะเปลี่ยนใจไม่อยากรบกวน

ค. แบ่งพื้นที่ให้ชัดเจน (territorial reinforcement)
มนุษย์เราโดยธรรมชาติจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ของตน และเคารพสิทธิ์ในพื้นที่ของคนอื่น ฉะนั้น เราจึงออกแบบให้มองเห็นชัดเจนว่า พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ควบคุมและหวงห้าม ไม่ใช่ที่สาธารณะ ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องก็จะรู้สึกว่ากำลังบุกรุกหรือละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น เช่น
­ สร้างทางเท้าเป็นแนวแบ่งพื้นที่
­ ทำทิวทัศน์ โดยใช้ต้นไม้ คู ร่องน้ำ ให้แบ่งเป็นแนวเขตหรือรั้ว



รั้วเตี้ยๆกั้นเป็นแนวช่วยแบ่งพื้นที่ส่วนตัวของจากพื้นที่สาธารณะ

ง. บริหารจัดการ (maintenance & management)
เรื่องนี้เป็นความร่วมมือ สมัครสมาน กลมเกลียวของคนในชุมชน ซึ่งมีความห่วงใย หวงแหนพื้นที่ชุมชนของตน ร่วมกันสร้างความน่าอยู่ ร่มรื่นให้กับชุมชน โดยการจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์ ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการในส่วนที่ร่วมกันของชุมชน
โดยทั่วไปในชุมชน อาจจะมีที่รกร้าง พื้นที่ที่ไม่ได้ใช้สอย สิ่งปรักหักพัง ต้นไม้พงหญ้า บ้านร้าง บางครั้งกลายเป็นที่เสื่อมโทรม ที่ซ่องสุมพวกมิจฉาชีพ ชุมชนต้องสอดส่องดูแล กำจัดที่รกร้างให้โปร่งตา ไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมให้เกิดอาชญากรรม

ความสำเร็จของ ค.อ.ส.

หลายปีก่อน ในสหรัฐอเมริกา มีโครงการใหญ่ๆ สร้างแฟลตที่พักอาศัย ปรากฎว่า แฟลตเหล่านี้กลายเป็นแหล่งเพาะอาชญากรรม หลังจากได้วิเคราะห์ปัญหากันก็พบว่ามีสาเหตูมาจากการออกแบบอาคารสถานที่มีจุดบกพร่อง กล่าวคือคำนึงถึงแต่ความสวยงาม แต่มีมุมอับและที่ลับตาทำให้คนร้ายประกอบอาชญากรรมได้ง่าย เมื่อปรับสภาพแวดล้อมเสียใหม่ โดยยังคงความงดงามอยู่ แต่เพิ่มความปลอดภัยได้มหาศาล แม้ ค.อ.ส. จะมีต้นกำเนิดมาจากโครงการแฟลต แต่เดี๋ยวนี้ ค.อ.ส.ได้รับความนิยมขยายวงไปใช้ในการออกแบบอาคาร, สำนักงาน, ศูนย์การค้า, โรงงาน, แฟลตพักอาศัย, ที่สาธารณะต่างๆ และอื่นๆ อีก
ด้วยเหตุนี้เอง ที่ในยุคที่ก่อการร้ายระบาด จึงได้มีการเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายรัฐและเอกชนร่วมมือกันสอดส่องระวังภัยอาชญากรรมต่อสาธารณะ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐฝ่ายเดียว
ค.อ.ส.จะได้ผลดีและแทบจะไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ถ้าได้คิดวางแผนกันเสียตั้งแต่เริ่มขั้นออกแบบ มิฉะนั้น ก็ต้องปรับแก้ทีหลัง แบบวัวหายล้อมคอก (แต่ก็ยังดีที่ยังได้ล้อม) ลองดูตัวอย่างจริงต่อไปนี้
สมัยหนึ่ง ร้านสะดวกซื้อ (convenience store) จะมีพนักงานทำงานอยู่ที่มุมห้อง บางทีมีกองสินค้า หรือป้ายบอกราคาหรือป้ายโฆษณาเชิญชวน มาตั้งบังสายตาเสียอีก ยิ่งตอนหัวค่ำ ลูกค้ามาจับจ่ายซื้อของ หน้าร้านก็สับสนวุ่นวาย เพราะมีตู้โทรศัพท์สาธารณะตั้งเรียงไว้ กลายเป็นแหล่งทิ้งขยะเลอะเทอะไปด้วย นอกจากนี้ยังแผงป้ายโฆษณาแขวนบังหน้าร้านอีก ฉะนั้นการปล้นจี้ร้านจึงเกิดขึ้นได้ง่าย และตำรวจก็ไม่สามารถทราบเหตุการณ์ได้ทันท่วงที ทั้งๆ ที่จัดสายตรวจตระเวนไปมาอยู่บ่อยๆ
หลังจากได้วิเคราะห์ปัญหานี้ จึงได้ทำการย้ายแผงโฆษณาสูงขึ้น หรือหลบออกไปด้านอื่นเพื่อให้เห็นโล่งจากภายนอก เพิ่มไฟแสงสว่าง ย้ายแคชเชียร์ให้อยู่กลางร้าน ยกพื้นให้สูงขึ้น ตำรวจสามารถเห็นได้จากนอกร้าน ย้ายโทรศัพท์สาธารณะไปด้านข้างไม่ให้บังร้าน ป้ายราคาหรือโฆษณาในร้านถูกย้ายไปข้างใน มุมอับลับตาถูกกำจัด พื้นที่ล่อแหลมถูกเปิดเผยให้เห็นโล่ง
เมื่อปรับสภาพแวดล้อมของร้านไปแล้ว คนร้ายก็ต้องย้ายที่ไปหากินร้านอื่น แต่ก็จะหากินยากขึ้นเพราะร้านทั้งหลายก็ทะยอยปรับสภาพแวดล้อมไปจนครบแล้ว
จะเห็นว่านอกจาก ค.อ.ส.ช่วยเพิ่มความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น สะดวกต่อการดูแล ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น

ค.อ.ส.กับเมืองไทย
ครับ ค.อ.ส.ไม่ใช่ของใหม่สำหรับเมืองไทย วงการตำรวจนั้นสอนกันมาหลายปีดีดัก โบราณก็สอนว่า “ กันไว้ดีกว่าแก้ ” กับ “ วัวหายล้อมคอก ” ฉะนั้น ถ้าเราป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมได้ย่อมประหยัดกว่าที่จะปล่อยให้เกิดแล้วไปปราบปรามกันทีหลัง
แต่งานป้องกัน บางทีก็ไม่ค่อยน่าสนใจเท่ากับงานปราบ เพราะอยู่เบื้องหลัง สู้มือปราบไม่ได้ทำงานเดียวก็ดังแล้ว แต่มือป้องกันทำงานอยู่หลายปี ยังไม่ค่อยมีใครถามถึง
แนวคิด ค.อ.ส.นี้ หากจะขับเคลื่อนกันจริงๆ ท้องถิ่นจะมีบทบาทมากทีเดียว เพราะในบ้านเมืองจะต้องตกลงกันเสียก่อนว่า พื้นที่ไหนเป็นพื้นที่ส่วนตัว (private area) หรือพื้นที่กึ่งส่วนตัว (semi-private area) หรือพื้นที่กึ่งสาธารณะ (semi-public area) หรือพื้นที่สาธารณะ (public area)
สำหรับพื้นที่สาธารณะ คงไม่เป็นปัญหา ฝ่ายรัฐก็รับผิดชอบจัดการตามหน้าที่ปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม
แต่ถ้าไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ เจ้าของพื้นที่ดูแลกันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าหากพื้นที่เหล่านี้ ล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม ท้องถิ่นสามารถกำหนดว่าจะให้ใครเป็นผู้ดูแล และรับผิดชอบต่อผลนั้นเพียงใด มิฉะนั้นแล้ว ก็จะเกิดข้อโต้แย้ง ดังนี้
­ ท่านไปช็อปปิ้งที่ห้างฯ เอารถไปจอดในอาคารจอดรถ รับบัตรเข้าจอด จอดเสร็จ ล็อครถไว้ ขากลับรถหายหรือรถโดนงัด สรุปว่า จะให้ รปภ.รับผิดชอบ หรือ ห้างฯ รับผิดชอบ ทุกวันนี้ไม่ทราบว่า สังคมตกลงเรียบร้อยหรือยัง ว่าใครรับผิดชอบอะไร อย่างไร ผลสุดท้ายจะกลายเป็นตัวใครตัวมัน ถ้าตกลงกันว่าเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ ให้เจ้าของพื้นที่จัดระบบรักษาความปลอดภัยในระดับใด จึงจะถือว่าสมควรแก่หน้าที่ หากยังเกิดเหตุร้าย ก็ถือว่าได้ดูแลตามสมควรแล้ว ดีกว่าพิมพ์ไว้หลังบัตรจอดรถปฏิเสธความรับผิด
­ ท่านพักอยู่ที่แฟลต ออกไปธุระนอกบ้าน กลับมาตอนค่ำ ระหว่างเดินขึ้นห้องพัก คนร้ายดักอยู่จี้ชิงทรัพย์ ไม่ว่าท่านจะจ่ายค่า รปภ.หรือไม่ก็ตาม ท่านจะเรียกร้องอะไรจากเจ้าของพื้นที่ได้ ถ้ากำหนดให้พื้นที่ระหว่างทางเข้าก่อนถึงห้องพักเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ เจ้าของพื้นที่ต้องจัดระบบรักษาความปลอดภัยในระดับใด จึงจะถือว่าสมควรแก่หน้าที่

หรือจะให้ตำรวจเป็นเจ้าภาพก็คงได้ แต่เห็นจะต้องยกเครื่องตำรวจเสียก่อน เพราะทุกวันนี้ดูองค์กรตำรวจยังเจ็บป่วยอยู่ ท่านนายกฯอาจจะส่งด๊อกเตอร์ (แปลว่าหมอ) มาผ่าตัดหน่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง ตำรวจจึงจะพร้อมลุยได้ เมื่อตำรวจได้รับความเป็นธรรมโดยเฉพาะด้านผลตอบแทน ไม่ต้องมัววิ่งเต้นตลอดชีวิต (เพื่อรักษาความเป็นธรรมให้ตัวเอง) เมื่อนั้นตำรวจก็จะทำหน้าที่ได้เต็มความสามารถ

*********************

เอกสารอ้างอิง
1. บทสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร : กองบรรณาธิการวารสารเซมิคอนดัคเตอร์อิเล็คทรอนิคส์ ฉบับที่ 93 เดือน ก.ค.2532
2. “ การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม: หลัก ทฤษฎี และมาตรการ ” โดย “ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ” สำนักพิมพ์บรรณกิจ (พ.ศ.2525)
3. “Crime Prevention Through Environmental Design Guidebook” – National Crime Prevention Council , Police Headquarters, Singapore Police Force.
4. Crime Prevention Through Environmental Design – Anchorage Police Department, Alaska, USA หรือ www.muni.org/apd1/cpted.htm

Friday, October 19, 2007

หน่วยรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 9-1-1

หน่วยรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 9-1-1

กรกฎาคม 2548

ชีวิตคนเรานั้น ไม่แน่นอน อาจมีโชคหรืออับโชคได้ แล้วแต่บุญกรรมของตน สักวันหนึ่งท่านอาจประสบเหตุร้ายๆ บ้างก็ได้ (ขอโทษครับผมไม่ได้แช่ง).....แต่ท่านทราบหรือไม่ครับว่า ถ้าท่านประสบเหตุฉุกเฉิน แล้วท่านจะแก้สถานการณ์อย่างไร จะขอความช่วยเหลือจากใคร
ทุกประเทศในโลก รัฐมีหน้าที่ดูแลในเรื่องรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สำหรับประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะทำระบบบริการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางโทรศัพท์ไว้สำหรับให้ประชาชนแจ้งมายังเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ถามว่าทำไมต้องเป็นโทรศัพท์ คำตอบก็คือ โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่สะดวกที่สุดระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน
แนวคิดนี้มีมานาน 60-70 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1937 อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ทำระบบนี้ เขาใช้หมายเลข 999 หลังจากนั้น เมื่อมนุษย์มีโทรศัพท์ใช้แพร่หลายมากขึ้น ประเทศต่างๆก็เริ่มทำระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางโทรศัพท์บ้าง ในปี 1957 หน่วยดับเพลิงในอเมริกาก็กำหนดให้ใช้หมายเลขเดียวกันทั้งประเทศในการแจ้งไฟไหม้ (ซึ่งตามประวัติไม่มีระบุว่าใช้เบอร์ใด)
แต่ปรากฎว่าต่อมาในปี 1967 คณะกรรมการบริหารกิจการด้านตำรวจและงานยุติธรรม (President’s Crime Commission on Law Enforcement and Administration of Justice) ของประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม และแนะนำให้ใช้หมายเลขเดียวกันทั้งประเทศในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน และเบอร์ที่ว่าก็คือ 9-1-1 (อ่านว่า nine-one-one บางทีเขียนเป็น 911 โดยไม่มีขีดระหว่างตัวเลข แต่ก็ไม่อ่าน nine- eleven เพราะไม่ใช่ 11 กันยา วันอเมริกาวินาศ บังเอิญตัวเลขมาตรงกันพอดี.......แปลก)

ประกาศกฎหมาย 911

นโยบายนี้เองที่คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติหรือหน่วยงาน กทช. ของอเมริกา ซึ่งเรียกชื่อว่า FCC (Federal Communications Commission) ได้ร่วมกับบริษัทสื่อสาร AT&T (American Telephone and Telegraph) กำหนดหมายเลข 911 เป็นเบอร์ฉุกเฉิน ซึ่งต่อมาในปี 1973 รัฐบาลก็ประกาศให้ระดมทำระบบ 911 ทั่วทั้งประเทศ พร้อมกับได้ออกเป็นกฎหมายหลักของประเทศ และกำหนดอำนาจหน้าที่ต่างๆให้แก่หน่วยที่รับโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉิน เพื่อบริการสาธารณะในพื้นที่
ใช่แล้วครับ เมื่อมีประชาชนโทรแจ้งเหตุร้าย ต้องจัดให้มีผู้รับสายด้วย และต้องเพียงพอต่อการบริการ ผู้รับโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินนี้ ไม่ใช่โอเปอเรเตอร์ธรรมดา แต่ต้องเป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาขั้นต้นให้แก่ผู้ประสบเหตุนั้นได้ทันที นั่นคือ เจ้าหน้าที่ที่ว่านี้ ถ้าจำเป็น ต้องส่งเจ้าหน้าที่มาให้การช่วยเหลือแก่ผู้เคราะห์ร้ายนั้นได้
ยังมีอีกครับ การช่วยเหลือจะให้เฉพาะแก่พื้นที่ของตน กล่าวคือ เมื่อประชาชนในพื้นที่หนึ่ง โทรหมายเลขฉุกเฉินจะต้องโยงมาเข้าโอเปอเรเตอร์ในพื้นที่นั้นๆ (ไม่ใช่ประชาชนโทรเบอร์ฉุกเฉินจากยะลา ปรากฎว่าไปเข้าโอเปอเรเตอร์ที่ กทม.รับสาย ) ฉะนั้น กฎหมายแม่ตัวนี้จึงต้องกำหนดให้บริษัทผู้ทำเครือข่ายโทรศัพท์ของอเมริกาจัดวางเครือข่ายให้เส้นทาง (routing) จากผู้โทรเบอร์ 911 โยงใยต่อไปยังจุดรับแจ้งเหตุ (public safety answering point) เรียกย่อว่า PSAP ซึ่งเขาจัดแบ่งให้แต่ละจุดครอบคลุมพื้นที่ตามเขตรับผิดชอบ
จุดรับแจ้งเหตุหรือ นี้จะกระจายอยู่มากมายทั่วประเทศ ตามแต่การจัดแบ่งเขตรับผิดชอบ มี PSAP อยู่ทุกเมือง เมืองหนึ่งอาจมีจุดเดียว แต่ถ้าเป็นเมืองขนาดใหญ่อาจมี PSAP มากกว่า 2 จุด ก็ได้

ผู้รับแจ้งเหตุและผู้ที่จัดเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือ

ที่ศูนย์รับแจ้งเหตุ PSAP จะมีคนคอยบริการฉุกเฉินอยู่ 2 พวก คือ พวกที่รับสายหรือรับแจ้งเหตุ กับพวกที่แจ้งผู้เกี่ยวข้องไประงับเหตุ
เมื่อท่านโทรศัพท์แจ้งเหตุไปยังหมายเลข 911 เจ้าหน้าที่ PSAP 2 พวกนี้ (ความจริงอาจเป็นคนเดียวกันก็ได้) คนหนึ่งทำหน้าที่รับสาย (คนนี้ เรียกชื่อว่า Calltaker) สอบถามข้อมูลของเหตุฉุกเฉินจากท่าน ส่วนอีกคนหนึ่งทำหน้าที่พิจารณาเลือกแจ้งให้เจ้าหน้าที่ (อาจเป็นตำรวจ หรือรถพยาบาล หรือดับเพลิง) ที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินนั้นมาช่วยเหลือท่าน (คนนี้ เรียกชื่อว่า Dispatcher)
ผู้ที่ทำงานที่ PSAP นี้ก็คือผู้ที่ให้บริการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน จะเป็นใครก็ได้แต่ต้องมีน้ำใจเมตตาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และผ่านการฝึกฝนการรับโทรศัพท์ฉุกเฉินมาแล้ว
ผู้ที่ทำหน้าที่ Calltaker นี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน อาจมาจาก ตำรวจ หรืออาสาสมัคร หรือหมอ พยาบาล ฯลฯ ก็ได้ คนเหล่านี้ทำงานภายใต้กฎหมายลูกๆ ซึ่งเรียกชื่อคล้ายๆกัน เช่น 911 Act, Emergency 911 System Act, Emergency Measures Act, Enhanced 911 Emergency Communications Act of 2003 เป็นต้น
ระบบ 911 ของอเมริกานั้น ได้พัฒนามานาน แม้จะครอบคลุมทั่วทั้งประเทศแล้ว แต่ เขาก็ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ขณะนี้แนวโน้มการโทรแจ้งเหตุใน 4-5 ปีหลังๆ ประมาณว่าครึ่งหนึ่งมาจากโทรมือถือ ซึ่งในระบบ 911 เดิม บอกเบอร์โทรและที่อยู่ของผู้โทร แต่เป็นที่อยู่ทางไปรษณีย์ ไม่ใช่ที่อยู่จริงของผู้โทรจริงในขณะนั้น
ในปี 1999 (ก่อนวันถล่ม world trade ประมาณ 2 ปี) ประธานาธิบดีคลินตัน จึงลงนามบังคับใช้กฎหมาย Wireless Communications and Public Safety Act of 1999 ซึ่งกำหนดให้ใช้ 911 เป็นหมายเลขฉุกเฉินเบอร์เดียวกันทั้งกรณีแจ้งโทรฉุกเฉินทางสายและแจ้งโทรทางมือถือ และต่อมารัฐก็บังคับให้ทุกหน่วยร่วมกันทำระบบบอกเบอร์ (ANI ย่อจาก Automatic Number Identification) และตำแหน่งที่อยู่ (ALI ย่อจาก Automatic Location Identification) ของผู้แจ้ง(กรณีใช้มือถือ) ด้วย
เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลงของวิธีการสื่อสาร เขาจึงจำเป็นต้องปรับปรุงให้การรับแจ้งเหตุตอบสนองต่อระบบโทรศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย เช่น การโทรผ่านตู้ชุมสายสาขา (PBX) และการโทรผ่านระบบอินเตอร์เนต (VoIP) ด้วย แม้แต่การบริการรับแจ้งเหตูของคนหูตึง (hearing impaired) และคนพูดภาษาต่างประเทศ (multilingual)

เหตุฉุกเฉินคืออะไร

เหตุฉุกเฉินมีหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น มีอาชญากรรมกำลังเกิดขึ้น อยู่ในสถานการณ์ที่คุกคามชีวิต โดนยาพิษ ถูกทำร้าย ถูกยิงหรือถูกแทง สำลัก หมดสติ จมน้ำ กำลังมีการต่อสู้โดยใช้อาวุธ อุบัติเหตุรถยนต์หรือจราจร มีการบาดเจ็บต้องส่งหมอ สารเคมีรั่วหรือหกเรี่ยราด สัญญาณเตือนไฟไหม้หรือเตือนภัยดัง ไฟฟ้าช็อตมีประกายไฟ มีควันลุกในอาคาร ฯลฯ ความฉุกเฉินมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุ
บางเหตุที่ไม่ฉุกเฉิน โดยเฉพาะการโทรสอบถามข้อมูลต่างๆ และแจ้งเหตุอื่นที่ไม่ฉุกเฉิน ดังตัวอย่างเช่น แจ้งเหตุไฟฟ้าดับ แจ้งสัตว์เลี้ยงสูญหาย ขอรถลาก สอบถามเส้นทางจราจร สอบถามวันปิดวันเปิดวันหยุดโรงเรียน สอบถามการชำระค่าปรับ ขอเบอร์โทรหน่วยงานราชการ สอบถามดินฟ้าอากาศ แจ้งเหตุท่อประปาแตกรั่ว แจ้งไฟถนนดับ แจ้งเหตุสุนัขเห่าหนวกหู แจ้งเหตุงานเลี้ยงส่งเสียงดัง เดือดร้อนรำคาญ แจ้งเหตุขยะเหม็นเน่า ฯลฯ
โดยทั่วไป เหตุฉุกเฉินที่ประชาชนประสบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ก. เหตุที่ต้องแจ้งตำรวจ (Police) ประมาณ 70%
ข. เหตุที่ต้องพบหมอ (Ambulance) ,, 20%
ค. เหตุไฟไหม้ (Fire) ,, 10%
ทั้ง 3 เหตุนี้มีความเร่งด่วนที่ต้องช่วยเหลือทันที จากสถิติที่ผ่านมา เขาพบว่า ข้อ ก. เหตุที่ต้องแจ้งตำรวจ มีมากกว่าอีก 2 เหตุ คือ ข้อ ก. 70% ข้อ ข.และ ค. ประมาณ 20% และ 10% รวมเป็น 30%
องค์ประกอบสำคัญในการให้บริการฉุกเฉิน ได้แก่
ก. ต้องมีเจ้าหน้าที่ทำงานรับโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด และ
ข. สามารถจัดเจ้าหน้าที่ไปยังที่เกิดเหตุได้เร็วที่สุด นั่นคือจะต้องรู้ที่อยู่ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
หากขาดสองข้อนี้ จะไม่ใช่บริการฉุกเฉิน กลายเป็นบริการรับโทรศัพท์ธรรมดาไม่ใช่ emergency ถ้าเอามาเป็นบริการฉุกเฉิน ก็จะเป็นบริการคุณภาพต่ำ
ด้วยเหตุผลนี้เองที่ ผู้ที่ทำหน้าที่ Calltaker และ Dispatcher จึงต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี เพราะสามารถทำงานภายใต้สภาวะกดดันได้ เข้าใจจิตวิทยาในการปลอบ การควบคุมอารมณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของเหตุฉุกเฉินจากผู้แจ้งเหตุซึ่งกำลังตื่นตระหนก

ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินของไทย

ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเรามีเหตุฉุกเฉินเกิด ขึ้นอยู่บ่อยมาก โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดอยู่เป็นประจำ แต่เรายังมีหน่วยงานด้าน emergency ไม่ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ
หัวใจของบริการฉุกเฉินก็คือ ต้องช่วยทันที ลดเวลาในการรอให้น้อยที่สุด ถ้าทำได้ตามนี้
1. จะช่วยรักษาชีวิตคนได้
2. จะลดความเสียหายให้น้อยลงได้ และ
3. จะช่วยเพิ่มโอกาสในการจับกุมคนร้ายได้มากขึ้น
แม้ว่าเรามีหน่วยงานด้าน emergency อยู่หลายหน่วย เช่น ไฟไหม้ ตำรวจ อุบัติภัย ดับเพลิง ศูนย์นเรนทร ร่วมด้วยช่วยกัน จส.100 ทุกหน่วยต่างก็ทำกันเต็มความสามารถ แต่ต่างก็ทำงานในส่วนของตน ทุกหน่วยต่างก็มีหมายเลขโทรศัพท์เป็นของตนเอง มีทั้ง 3 ตัว 4 ตัว 7 ตัว บางเบอร์โทรติดง่าย คนนิยมมาก บางเบอร์โทรติดยาก ต้องรอสายนาน แต่คงไม่ว่ากัน ต่างก็เข้มแข็งในงานบริการประชาชนในด้านที่ตัวเองสนใจและชำนาญ เช่นรถเสีย จราจรติดขัด เหตุคนบาดเจ็บ สำหรับภาคเอกชนอาจมีรายงานข่าวหรือโฆษณาสินค้ามาสลับในระหว่างบริการบ้าง แล้วแต่เหตุการณ์
ในมุมมองของประชาชนนั้น ส่วนรวมได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย คุณภาพการบริการอาจมีแตกต่างกันบ้างแล้วแต่นโยบายผู้บริหาร
ครับ ... แม้ว่า ประชาชนจะมีทางเลือกหลายทางในการขอความช่วยเหลือ แต่พอเกิดเหตุจริงๆ ผู้ประสบเหตุจะสับสน ไม่รู้จะโทรเบอร์ไหนดี ยิ่งโทรไม่ติด ยิ่งลนลานรีบร้อน ยิ่งโทรไม่ได้เลย ปัญหานี้เกิดขึ้นกับคนเดินทางอยู่เสมอ เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายหรือเหตุฉุกเฉินในระหว่างเดินทาง เราจะไม่แน่ใจว่าควรโทรเบอร์อะไร พอโทรเข้า ปรากฎว่าหน่วยงาน emergency เหล่านี้ มีบริการไม่ครอบคลุมพื้นที่ บางเหตุการณ์ซึ่งที่เกิดเหตุอยู่ห่างไกล กว่าจะประสานหน่วยในพื้นที่ได้ก็เหน็ดเหนื่อย และสิ้นเปลืองเวลาไปพอสมควร
การมีหน่วยงานด้าน emergency มากมายเป็นข้อดีก็จริง แต่ความมากมายจะต้องมีคุณภาพด้วย เพื่อมิให้ผู้เคราะห์ร้ายต้องเสียเวลาแจ้งเหตุโดยเปล่าประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นความมากมายจะต้องเป็นความมีระเบียบด้วย การบริการสาธารณะที่แก่งแย่งกันมักจะเกิดผลเสียหายได้เหมือนกัน (คงจำกันได้ หลายปีมาแล้วตอนที่ มูลนิธิ 2 มูลนิธิทะเลาะกันเพื่อแย่งกันเก็บศพ)

จัดระเบียบการให้บริการฉุกเฉิน

ลองดูว่า 911 เมืองนอก เขาทำงานอย่างไร ทำอย่างนี้ครับ เมื่อมีโทรเข้า 911 เขาไม่ต้องบอกว่าตนเองคือใคร หน่วยใด แต่เขาตอบสายว่า (ยกคำพูดที่เขาพูดมาเป็นตัวอย่าง)
9-1-1 emergency , what are you reporting?
City A 9-1-1 , may I help you?
What service do you require? Police, fire brigade or ambulance.
สังเกตว่าเขาไม่มีการรายงานตัวเหมือนบางหน่วยของเรา เขารีบถามเลยว่าคุณต้องการให้ช่วยอะไร หลังจากนั้นก็เป็นรูปแบบการสอบถามข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ชื่อผู้แจ้ง ที่เกิดเหตุ หมายเลขโทรของท่าน เกิดเหตุอะไร อย่างไร มีคนเจ็บหรือไม่ เป็นต้น เมื่อทราบข้อมูลพอสมควรแล้ว ก็จะโอนสาย หรือพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม
สำหรับการรับสายนั้น แทบจะเรียกได้ว่าไม่ต้องรอ ไม่มีการปล่อยเสียงเพลงให้ฟังเพื่อรอสาย เพราะความฉุกเฉินจริงๆ ต้องให้รอน้อยที่สุด
แม้ว่าการบริการของ 911 จะเน้นเฉพาะเหตูฉุกเฉิน แต่บางครั้งก็อาจบริการอื่นๆที่ไม่ฉุกเฉินผสมไปด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะโอนส่งต่อไปให้หน่วยบริการที่ไม่ฉุกเฉินรับไป
ช่วยสังเกตุว่า คำถามของเจ้าหน้าที่รับแจ้งเหตุตอบสายเมื่อท่านโทร 911 นั้น เขาไม่บอกว่าตนสังกัดหน่วยใด แปลว่าเขาทำงานให้สาธารณะโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน หรือหน่วยที่ตนสังกัด

หลัก “One Nation One Number”

หลักเบอร์ฉุกเฉินเบอร์เดียวให้บริการครบวงจร หรือ “one nation one number” นี้ มีข้อดีเพราะเบอร์เดียว จำง่าย ไม่ต้องนึกเบอร์ ไม่สับสน และไม่ต้องนึกว่าจะโทรไปหาหน่วยงานใดดี เพราะเบอร์เดียว บริการเหตุฉุกเฉินได้ทุกประเภท ไม่ว่าตำรวจ รถพยาบาล หรือดับเพลิง หรือพิเศษอื่นๆ(ถ้ามี) ใช้เบอร์เดียวโทรได้ทั่วประเทศ เมื่อต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในประเทศ
แต่ถ้าถามว่าเมืองไทยควรใช้เบอร์ฉุกเฉินเป็นเบอร์เดียวกันทั้งประเทศหรือไม่ คำตอบ.... ก็คงต้องตอบว่าใช่ แต่ตอบแบบนี้ หน่วยบริการฉุกเฉินทั้งหลายคงไม่ยอมแน่ เพราะประเทศเราเคยมีประวัติการแย่งกันบริการสาธารณะมาแล้ว ดังนั้นรัฐต้องจัดระเบียบหน่วยบริการเหล่านี้ เพราะหน้าที่การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ในกรณีฉุกเฉินเป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่ของหน่วยใดเพียงหน่วยเดียว ต้องอาศัยความร่วมมือหลายหน่วย รัฐต้องเป็นเจ้าภาพ
สำหรับประเทศเรา ถ้าจัดระเบียบได้ดี หน่วยบริการฉุกเฉินทั้งหลายให้ความร่วมมือกัน ประชาชนก็จะได้รับบริการฉุกเฉินที่มีคุณภาพในระดับเหมือนๆ กันทั่วประเทศ คือ เมื่อโทรแล้วติดง่าย และมีผู้รับสาย และผู้ที่รับสายก็มีความสามารถในการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินได้ทันที ตลอดเวลา

งบประมาณสนับสนุน PSAP

หลังจากที่รัฐบาลกลางกำหนดให้มีศูนย์ 911 ทั่วประเทศ ตอนแรกก็มีงบสนับสนุนให้ แต่ต่อมาก็ชักจะเกิดปัญหาในการดูแล ฉะนั้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ได้มีการนำเสนอแนวคิดจัดสรรงบเพื่อเลี้ยงตัวเอง (self support funding structure) จากเงินในพื้นที่ของตน
แนวคิดนี้ได้นำไปหารือระหว่างหน่วยเกี่ยวข้อง เมื่อได้ข้อยุติ รัฐบาลกลางเขาก็ออกกฎหมายอนุญาตให้นำเงินค่าธรรมเนียมรายเดือน (monthly fee) จากผู้ใช้โทรศัพท์ในพื้นที่มาใช้เป็นงบประมาณในการบริหารจัดการของศูนย์รับแจ้งเหตุ ซึ่งเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยแต่จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มีมาก จึงได้ตัวเงินพอสมควร
แนวคิดการเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้โทรศัพท์นี้นับว่าชาญฉลาดมาก แต่ละพื้นที่ต้องคิดคำนวณเอง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ไม่เท่ากัน สูตรคำนวณแต่ละพื้นที่จึงเป็นสูตรใครสูตรมัน (อาจจะเป็นสูตรซับซ้อน แต่หลักคิดเป็นหลักการเดียวกัน คือ ผู้รับบริการโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นผู้จ่ายค่าบริการ) งบสนับสนุนนี้จึงไม่เท่ากัน ประมาณ 1-2 เหรียญสหรัฐต่อเดือน (ทั้งกรณีโทรศัพท์สายและกรณีโทรศัพท์มือถือ) อย่างไรก็ดี กรณีโทรศัพท์ฉุกเฉิน 911 แต่ละครั้ง จะไม่คิดค่าโทร ไม่ว่าจะโทรจากที่ใด เครื่องใด (no per call charge)

ระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินของไทย (อีกที)

ท่านลองชะโงกดูตารางโทรศัพท์ (ตอนท้ายบทความนี้) ผมยกมาให้ดูบางส่วน ทั้งฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน จะพบว่ามีความประหลาดอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกทำไมเบอร์บริการมันเยอะมากจนจำไม่ไหว (บางเบอร์ ไม่รู้ว่ามีคนโทรเข้าไปบ้างหรือไม่ ถ้าไม่มีบริการ จะมีไว้ประดับหน่วยงานก็ไม่ว่ากัน) ประการที่สอง เบอร์ส่วนใหญ่เป็นของตำรวจ เบอร์เก่าแก่ที่สุด (ไม่ต่ำกว่า 25 ปี) คือ 191 (Police) กับ 199 (Fire) ก็เป็นของตำรวจ ยังไม่มีการปรับปรุงขยายไปไหน ไม่ทราบว่าเจอตัวเจ้าภาพแล้วหรือยัง
เบอร์เหตุฉุกเฉินอีกหนึ่งเหตุคือ 1669 (Ambulance) เพิ่งจะตั้งใหม่ (ไม่เกิน 5 ปี) แต่กำลังเติบโตตามนโยบายสุขภาพของประเทศ ใช้หมายเลข 1669 สำหรับการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือและการขอคำแนะนำฉุกเฉินแก่ประชาชนทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าบริการ การใช้หมายเลขนี้ในพื้นที่จังหวัดใดจะตรงเข้าสู่โรงพยาบาลประจำจังหวัดนั้น ๆ ยกเว้นในส่วนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเข้าตรงมายังศูนย์ "นเรนทร" กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์ "นเรนทร" จะมีเจ้าหน้าที่ประจำ 2 คน ซึ่งจะเป็นผู้รับแจ้งเหตุและให้คำแนะนำแก่ประชาชนโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์อีกชั้นหนึ่ง